“พ่อใหม่หนูเป็นคนต่างชาติ หนูหลบหน้า ไม่อยากพูดกับเขาเลย”

น้องมุก นักเรียนชั้น ม.3 คนที่กลัวการใช้ภาษาอังกฤษมากๆ แม้กระทั่ง คุณพ่อชาวต่างชาติ มุกยังไม่ยอมคุยด้วย เธอมักจะหนีเข้าห้องไปดูการ์ตูนอยู่คนเดียวจนกระทั่ง มุกได้มาเรียนภาษาอังกฤษกับครูเต๋อ… ครูเต๋อ เป็น คุณครูในโครงการ Teach For Thailand จบเอกภาษาและวัฒนธรรมจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จึงตัดสินใจมาเป็นครูสอนภาษาอังกฤษ เพราะเป็นวิชาที่ถนัดและรู้สึกว่าตัวเองสนุกกับการเรียนภาษาอังกฤษ         ในเทอมแรก  ครูเต๋อเข้ามาสอนด้วยความกระตือรือร้นและพลังบวก แต่พอมาสอนนักเรียนจริงๆ แล้วปรากฏว่า นักเรียนไม่สนใจเรียน หลับในห้อง เคยถึงขั้นเตะตะกร้อในห้องเรียน ทำให้ครูเต๋อถึงกับช็อค! ครูเต๋อจึงพยายามทำความเข้าใจและยอมรับความเป็นจริงว่า ‘ครูเต๋อกับนักเรียนไม่เหมือนกัน’ ไม่ใช่ทุกคนจะชอบเรียนภาษาอังกฤษเหมือนครูเต๋อ เธอจึงพยายามปรับรูปแบบการสอนใหม่และคิดว่าสิ่งเดียวที่ต้องทำคือการยึดนักเรียนเป็นศูนย์กลาง และกล้าที่จะปรับตัวเองเพื่อนักเรียน ต้องไม่ยึดติดกับหนังสือ เพราะนั่นคือสิ่งที่ครูอยากสอน แต่อาจจะไม่ใช่สิ่งที่นักเรียนอยากเรียนก็ได้  จนเมื่อครูเต๋อได้มาสอนน้องมุก        ครูสังเกตเห็นว่า มุกมีทักษะภาษาอังกฤษน้อยกว่าเพื่อน เวลาที่ครูถามคำถาม มุกมักจะไม่ตอบ แต่พยักหน้า ครูเต๋อจึงพยายามให้กำลังใจและเปิดโอกาสในการเรียนรู้โดยให้มุกได้ลองตอบ ครูเต๋อใช้การสอนอ่านแบบโฟนิกส์ (Phonics) นั้นก็คือ วิธีการเรียนอ่าน เขียนและออกเสียงภาษาอังกฤษ โดยใช้หลักการถอดรหัสเสียงและการผสมเสียงตัวอักษร A … Read more “พ่อใหม่หนูเป็นคนต่างชาติ หนูหลบหน้า ไม่อยากพูดกับเขาเลย”

คอมจะสอนดีกว่าครูได้อย่างไร?

“ครูครับ หูฟังผมไม่ดัง” “ครูคะ คอมหนูค้าง” “ครู เน็ตเข้าไม่ได้”  ลำพังแค่การออกแบบการสอนตามปกติก็ใช้เวลามากแล้ว แต่พอมีโปรแกรมคอมพิวเตอร์เข้ามาทำให้ครูต้องทำงานหนักขึ้น 2 เท่า ครูกิ๊ก ครูคณิตฯ ที่ได้ใช้โปรแกรม “เลิร์นเอ็ดดูเคชั่น (Learn Education)” โปรแกรมคอมพิวเตอร์สอนคณิตศาสตร์ในการสอนนักเรียนชั้น ม.ต้น สิ่งที่ครูกิ๊กต้องเผชิญคือในช่วงแรก ครูยอมรับเลยว่าห้องเรียนค่อนข้างเละเทะ เพราะครูเองก็ยังไม่รู้ว่าจะผสมผสานการสอนของครูและคอมฯ ได้อย่างไร  ความอลหม่านในคาบเรียน ที่ต้องแก้ปัญหาทางเทคนิค  ครูกิ๊กรู้สึกว่าตนเองใช้พลังงานในคาบเรียนเลิร์นเอ็ดดูเคชั่นมากกว่าการสอนด้วยตนเองเสียอีก แค่กว่านักเรึยนจะเปิดคอมฯ เข้าโปรแกรมก็กินเวลาเรียนไปมากแล้ว ครูกิ๊กจึงเริ่มปรับวิธีการใหม่โดยไปเปิดคอมฯ รอนักเรียนก่อนหรือประสานกับคุณครูท่านอื่นที่ใช้ห้องคอมฯ ก่อนหน้าว่าจะใช้คอมฯ ต่อในคาบถัดไป เพื่อให้นักเรียนสามารถเข้ามาถึงแล้วใช้โปรแกรมได้เลย นอกจากนั้น ครูกิ๊กยังกลับไปดูบทเรียนในโปรแกรมเลิร์นเอ็ดดูเคชั่นล่วงหน้าว่า ในโปรแกรมสอนเรื่องอะไรบ้าง ครูจะได้เลือกว่า บทเรียนไหนที่ให้เด็กเรียนกับโปรแกรมหรือบทเรียนไหนที่ครูจะสอนเอง เช่น……. – เรื่อง รูปเรขาคณิต เด็กๆ เรียนในโปรแกรมแล้ว เห็นภาพเคลื่อนไหวชัดเจน ทำให้เด็กเข้าใจง่ายกว่าการที่ครูจะเขียนรูป 2 มิติบนกระดาน – เรื่อง สถิติ  ในโปรแกรมเหมือนพาเด็กๆ ออกจากห้องเรียน ด้วยการมีคลิปวีดิโอพานักเรียนไปดูวิธีการเก็บข้อมูลทางสถิติ การทำแบบสอบถามและนำเสนอเป็นสถิติ ทำให้เด็กๆ … Read more คอมจะสอนดีกว่าครูได้อย่างไร?

“รู้แล้วทำไมยังทำอีก”

นักเรียนชั้น ม.5 คนหนึ่ง เล่าว่า.. เวลาที่เธอเข้าไปปรึกษาปัญหากับผู้ใหญ่ หลายครั้งที่เธอรู้ในสิ่งที่ตนเองทำผิดพลาด แต่การถูกตอกย้ำด้วยคำพูดเหล่านั้นยิ่งทำให้เธอตั้งกำแพงขึ้นมา และไม่กล้าไปปรึกษา เพราะ พื้นที่ตรงนั้นไม่ใช่ “พื้นที่ปลอดภัย” สำหรับเธอ ครูต้น ครูแนะแนวผู้พยายามสร้างพื้นที่ปลอดภัยให้นักเรียน แต่ก่อนที่จะมาถึงวันนี้ ครูต้นก็รู้สึกว่าตนเองเคยเป็นคนที่ ‘ตัดสิน’ นักเรียนมาก่อน ตลอดระยะเวลา15 ปี ที่เป็นครูแนะแนว เวลาที่มีนักเรียนมาปรึกษาปัญหา ครูต้นใช้กระบวนการให้คำปรึกษาตามหลักจิตวิทยาและการแนะแนว แต่มีบางครั้งที่ครูต้นก็เผลอคิดว่า… “ปัญหาแบบนี้ ก็ต้องแก้แบบนี้สิ”  คำตอบที่มาจากประสบการณ์ของผู้ใหญ่อาจกลายเป็นคำตอบสำเร็จรูปที่ไม่ได้ใช้กับเด็กได้ทุกคน และที่สำคัญวิธีการเหล่านั้น ไม่ใช่คำตอบที่มาจากตัวของเด็กเอง จนกระทั่ง ครูต้นได้เข้าร่วมอบรม  “โครงการครูแนะแนวรุ่นใหม่สร้างเด็กไทยให้ออกแบบชีวิตตนเองได้”  ภาพที่เกิดขึ้นครั้งแรกที่เข้าร่วมอบรม ไม่ได้เป็นไปอย่างที่ครูต้นคาดหวังไว้ ครูแนะแนวทุกท่านที่มาที่นี่ร่วมกิจกรรมโดยนั่งพื้น เล่นเกม ทำกิจกรรมไม่ต่างจากเด็ก แต่นี่คือ สิ่งที่ องค์กรอาชีฟ (a-chieve) ผู้จัดโครงการครูแนะแนวรุ่นใหม่ฯ ต้องการให้คุณครูเป็นผู้เรียนรู้ผ่านประสบการณ์ของตนเองก่อนที่จะนำกระบวนการต่างๆไปใช้จริงกับนักเรียน  กระบวนการที่ครูต้นสนใจและอยากนำกลับมาใช้ คือ “การสร้างพื้นที่ปลอดภัย” และ “การรับฟังแบบไม่ตัดสิน” ช่วงแรกที่ครูต้นพยายามเอากระบวนการที่ได้จากการอบรมกลับมาใช้ในโรงเรียน ไม่ใช่เรื่องง่ายดาย หรือสวยหรูอย่างที่คิดไว้  ครูต้นพยายามสร้างพื้นที่ปลอดภัยให้นักเรียน สอนให้เด็กๆรู้จักฟังกันโดยครูต้นทำเป็นแบบอย่าง แต่ครูต้นก็ยังถูกนักเรียนล้อในช่วงแรกด้วยประโยคที่ครูต้นมักจะพูดกับเด็กๆ นั่นคือ   “ถ้ามีคนพูดต้องมีคนฟัง”  บางทีสอนๆอยู่ … Read more “รู้แล้วทำไมยังทำอีก”

“ผมเรียนจากการอ่านปากครู”

‘เก้า’ นักเรียนชั้น ม.3  ผู้ชื่นชอบการเตะฟุตบอล แต่สิ่งที่เก้าชอบมากกว่าคือการนั่งมองไปที่สนาม เห็นเพื่อนๆแข่งบอลแล้วคิดว่าจะทำยังไงให้ทีมชนะ  เก้าชอบมองภาพว่าเพื่อนวิ่งจากจุดนี้ไปอีกจุดใช้เวลาประมาณเท่าไหร่ ในหัวของเก้าก็มักจะคาดคะเนคร่าวๆ แต่เวลาอยู่ในห้องเรียน ตัวหนังสือบนกระดานกลับเป็นอุปสรรคเสียเหลือเกิน  เก้าต้องใช้เวลาในการมองตัวอักษร  ประสมสระในหัว เพราะแม้จะเป็นตัวอักษรแต่เก้ามองเป็นภาพมากกว่า ทำให้เวลาเรียนเก้าใช้วิธีการอ่านปากครูเวลาที่ครูอธิบายแทน ซึ่งทำให้เวลาที่ครูพูดเร็ว เก้ายิ่งเข้าใจสิ่งต่างๆได้ยากขึ้นไปอีก คุณครูหลายท่านจึงเป็นห่วงในเรื่องการเรียนรู้ของเก้าที่ช้ากว่าเพื่อนๆ โดยเฉพาะการอ่าน การเขียน “ไม่ใช่ทุกคนที่จะเก่งไปเสียทุกเรื่อง ทำได้ดีไปเสียทุกอย่าง แต่ว่ามันต้องมีสักเรื่องที่เราเก่งแหละ” คำพูดให้กำลังใจจากครูพลับ แม้จะมีบางเวลาที่รู้สึกว่ายากลำบากในการเรียนหนังสือ แต่เก้าเชื่อในสิ่งที่ครูพลับบอกว่า มันต้องมีสักเรื่องสินะที่เราเก่ง เก้าเริ่มค้นพบว่าเขาชอบเรียนคณิตศาสตร์ โดยเฉพาะเรื่องแบบรูป แผนภูมิต้นไม้ คุณพ่อของเก้าก็คอยสนับสนุนและกระตุ้นให้เก้าทำแบบฝึกหัดมาล่วงหน้า แต่เวลาคุณครูเฉลยหรือแสดงวิธีทำบนกระดาน ก็ยังคงเป็นสิ่งที่ท้าทายสำหรับเก้ามาก เมื่อใดก็ตามที่ครูพูดอธิบายโดยไม่เขียนบนกระดานไปด้วยจะยิ่งทำให้เก้า ‘เรียนตามไม่ทัน’  จนกระทั่ง คุณครูพลับได้นำโปรแกรม  “Learn Education” เข้ามาใช้ในคาบเรียนคณิตศาสตร์ เก้าเริ่มเข้าใจคณิตศาสตร์มากขึ้น เพราะในโปรแกรมมีตัวอย่างภาพ และเขียนแสดงวิธีทำอย่างละเอียดแบบที่เก้าสามารถกดหยุดดู กดย้อนหลัง และจดตามได้ อีกทั้งช่วยเอื้อให้เก้าจดจ่อกับการเรียนคณิตศาสตร์ได้มากยิ่งขึ้น  ครูพลับยังกระตุ้นให้นักเรียนทุกคนในห้องทำแบบฝึกหัดมาล่วงหน้า ข้อไหนทำได้ทำมาก่อนได้เลยโดยไม่ต้องรอครูสั่ง แต่ถ้าเรื่องไหนยังทำไม่ได้ ครูก็จะอธิบายในห้องเรียนพร้อมๆกัน  ทั้งแรงกระตุ้นจากคุณพ่อ คุณครู มีเครื่องมือเข้ามาช่วย ประกอบกับความขยันและความพยายามของตัวเก้าเอง  เก้าลองทำแบบฝึกหัดมาล่วงหน้าโดยเป็นเรื่องที่ครูยังไม่ได้สอน ผลปรากฏว่า… … Read more “ผมเรียนจากการอ่านปากครู”

โรงเรียนที่เราอยากส่งลูกหลานไปเรียนต้องเป็นอย่างไร?

โรงเรียนที่เราอยากส่งลูกหลานไปเรียนต้องเป็นอย่างไร? “ถ้าเป็นอย่างนี้ อยู่ไม่ได้แน่”  เมื่อ 11 ปีที่แล้ว ผอ.พจนพร จิตเจริญทวีโชค ได้เข้ามารับตำแหน่งผู้อำนวยการที่ ‘รุจิรพัฒน์’ โรงเรียนติดชายแดนไทย-พม่า อ.สวนผึ้ง จ.ราชบุรี  ภาพแรกที่พบ โรงเรียนแห่งนี้ไม่ได้ใกล้เคียงกับภาพโรงเรียนในฝันเลย พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นป่ารก  ห้องน้ำที่มีก็กลายเป็นห้องน้ำร้าง สภาพภายในเลอะเทอะ โถส้วมเต็มไปด้วยกองไม้ ประตูหักพัง เนื่องจากที่บ้านนักเรียนส่วนใหญ่ไม่ได้มีห้องน้ำ เวลาปลดทุกข์ก็เข้าป่าแล้วใช้ไม้เช็ดก้น เมื่อมาโรงเรียน ทำให้เด็ก ๆ ไม่รู้เลยว่าส้วมใช้ยังไง หลังจากทำธุระเสร็จ จึงไม่ได้ราดน้ำและทิ้งกองไม้ไว้ในโถส้วมเต็มไปหมด  ผอ.พจนพรคิดว่าหากปล่อยให้เป็นแบบนี้ต่อไป คงไม่ไหวแน่ ท่านจึงเริ่มพัฒนาจากการสอนเด็กให้ใช้ห้องน้ำเป็นก่อน แต่การทำงานครั้งนี้ไม่ใช่การทำงานเพียงคนเดียว ผอ.และคณะครูร่วมกันปลูกฝังการใช้ห้องน้ำให้ถูกสุขลักษณะ โดยบูรณาการเรื่อง สุขา ไปในทุกรายวิชา ตั้งแต่วิธีการใช้ส้วม การชำระทำความสะอาดร่างกายและการรักษาความสะอาดห้องน้ำ  ทว่า พฤติกรรมที่เคยชินมาเป็นระยะเวลานานไม่ได้ถูกเปลี่ยนได้ในเวลาเพียง 2-3 วัน แม้ว่าเด็ก ๆ จะถูกสอนที่โรงเรียนแบบนี้ แต่เมื่อกลับไปที่บ้าน บ้านของแต่ละคนไม่มีห้องน้ำให้ใช้ เขาก็วนกลับไปสู่วงจรเดิม  เด็ก ๆ เกิดความรู้สึกต่อต้านเพราะเขาไม่รู้ถึงโทษจากการใช้ส้วมผิดสุขลักษณะ ไม่รู้ว่าพฤติกรรมที่เขาทำจะก่อให้เกิดโรคอะไรตามมาบ้าง ยิ่งเปรียบเทียบการเข้าห้องน้ำกับการเข้าป่า เดินเข้าไปในป่าจึงเป็นเรื่องที่ง่ายกว่าสำหรับพวกเขา คุณครูและผอ.ไม่ยอมแพ้เพียงเท่านี้ … Read more โรงเรียนที่เราอยากส่งลูกหลานไปเรียนต้องเป็นอย่างไร?

ไม่ได้คิดว่าจะเป็นครู

‘แบงค์’  ผู้โตมาท่ามกลางสังคมเมืองกรุง เรียนหลักสูตรอินเตอร์ และเคยไปเรียนต่อที่ญี่ปุ่น เขาเคยคิดว่า “อาชีพครูงานหนัก เงินเดือนน้อย” จึงไม่ใช่อาชีพที่เขาอยากจะเป็น ตอนนั้นเขาคิดว่าต้องเป็นเภสัช ตามความคาดหวังของที่บ้าน แต่ชีวิตการเรียนของเขาไม่ได้ราบรื่นสวยงามเขารู้สึกว่า เขาไม่เหมาะกับสายวิทย์-คณิตฯ หรือแม้กระทั่งสายศิลป์ เพราะในมุมมองของแบงค์ เขามองว่าการเลือกเรียนต่อในสายสามัญ มีทางเลือกน้อยเกินไป  คนเก่งก็จะเลือกเรียนสายวิทย์-คณิต ขณะที่คนเรียนไม่เก่ง ต้องเลือกเรียนสายศิลป์ เขาที่พอเรียนทุกสายได้แต่ไม่ถึงกับเก่ง จึงรู้สึกทุกข์ที่หาเส้นทางที่เหมาะสมของตัวเองไม่ได้ ไม่เพียงแต่เรื่องเรียน ความสัมพันธ์ที่มีกับเพื่อน คนรอบตัว เขาเองก็รู้สึกว่าตัวเองไม่ถนัดในการสร้างความสัมพันธ์กับผู้อื่น  จึงมักจะเลี่ยงการทำงานที่ต้องพบปะกับคนจำนวนมากจนกระทั่ง เรียนจบมา ทำธุรกิจของครอบครัว แล้วก้าวสู่การเป็นหัวหน้าแบงค์รู้เลยว่า ปมในใจอย่างหนึ่งที่เขาไม่เคยถูกแก้ไขเลย คือ เรื่องความสัมพันธ์กับผู้อื่น แบงค์กลายเป็นหัวหน้าที่ไม่เข้าใจคน  ไม่เข้าใจการพัฒนาลูกน้อง  “ทำไมลูกน้องไม่ฟังฉันเลย” จนกระทั่ง แบงค์ได้รู้จักกับ โครงการทีช ฟอร์ ไทยแลนด์ (Teach For Thailand) ที่ไปสอนนักเรียนในโรงเรียนขยายโอกาส เขาจึงตัดสินใจว่าอยากพักงานที่ดูแลธุรกิจของครอบครัวไว้ก่อนแล้วไปเป็นครู เนื่องจากครูเป็นอาชีพที่ต้องทำงานร่วมกับคน “ถ้าอยากทำบุญเราหาเงินเยอะๆ แล้วมาบริจาคให้พวกเด็กๆ ก็ได้ ไม่เห็นต้องมาเป็นครู” “การมาเป็นครูมันก็ช่วยเหลือเด็กได้แค่ไม่กี่คน ถึงแบงค์ไม่ได้มาเป็นครูก็มีคนอื่นมาเป็นแทนอยู่ดี” เสียงคัดค้านจากคนในครอบครัวแต่แบงค์ยังคงแน่วแน่ที่อยากจะเป็นครู  เขาสมัครและผ่านการคัดเลือก กลายมาเป็น ครูสอนวิชาภาษาอังกฤษในโรงเรียนแห่งหนึ่งในจังหวัดนครสวรรค์ ในตอนแรก ครูแบงค์ก็ไม่ได้เข้าใจเด็ก  “ภาษาอังกฤษที่ฉันสอนมันง่ายนะเนี่ย ทำไมนักเรียนไม่ฟังฉัน” … Read more ไม่ได้คิดว่าจะเป็นครู

เรื่องวันดีจากครูวันดี

ด.ช.วันดี กลับมาเรียนชั้น ม.1 หลังจากที่เขาหยุดเรียนไป 2 ปี ทำให้วันดีมีพื้นฐานน้อยกว่าเพื่อนในห้องเดียวกัน เวลาครูบอกคำสั่งอะไรก็ตามในห้องเรียน ครูต้องอธิบายหลายรอบกว่าวันดีจะเข้าใจว่าครูให้ทำอะไร การสื่อสารด้วยภาษาไทยในการเรียนวิชาทั่วไปว่ายากแล้ว ถ้าเป็นการเรียนภาษาอังกฤษยิ่งยากกว่า วันดีแทบจะไม่ค่อยรู้คำศัพท์  แต่หากครูสะกดทีละตัวอักษรให้ วันดีก็พอจะเขียนตัวอักษรได้แต่ช้า เขายังสับสนระหว่างตัว b กับ d และใช้เวลาคิดว่าแต่ละตัวอักษรต้องเขียนอย่างไร  ความบังเอิญของเรื่องนี้ คือ วันดีได้เรียนภาษาอังกฤษกับคุณครูที่มีชื่อว่า “ครูวันดี” (ชื่อเขียนเหมือนกันเป๊ะ) คุณครูวันดีทราบว่าพื้นฐานนักเรียนหลายคนที่เข้ามาเรียน ม.1 บางคนก็มีปัญหาคล้ายกับวันดี เพราะเด็กบางคนแทบจะไม่ค่อยได้เรียนภาษาอังกฤษมาเลยในตอนชั้นประถม เนื่องจากโรงเรียนที่เคยเรียนขาดครูผู้สอนที่จบตรงเอกภาษาอังกฤษ ช่วงแรก การเรียนการสอนวิชาภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้น ม.1 ที่เข้าใหม่ยังขลุกขลักอยู่มาก เพราะไม่ใช่แค่ ด.ช.วันดีเพียงคนเดียว ยังมีนักเรียนอีกหลายคนที่มีพื้นฐานภาษาอังกฤษต่ำกว่าเกณฑ์  ในหนึ่งคาบเรียนครูวันดีสอนเนื้อหาได้ไม่มากเพราะต้องค่อยๆ อธิบายเพื่อให้นักเรียนทุกคนตามได้ทัน  คุณครูวันดี จึงพยายามทำให้การเรียนภาษาอังกฤษเป็นสิ่งที่น่าสนใจสำหรับเด็กๆ ก่อน โดยเริ่มต้นคาบเรียนด้วยการนำคลิปใน Youtube มาให้นักเรียนดูเพื่อดึงดูดความสนใจ  หลังจากนั้นก็จะให้นักเรียนเขียนพร้อมกัน ไปแบบช้าๆ สอนทีละเรื่อง หลังจากเขียนเสร็จ ครูก็จะให้ทุกคนยืนอ่าน เพื่อมั่นใจว่าทุกคนได้ฝึกทั้งการฟัง พูด อ่าน และเขียน  จนกระทั่งวันหนึ่ง โรงเรียนวัดตะคร้ำเอน ได้นำเครื่องมือหนึ่ง … Read more เรื่องวันดีจากครูวันดี

ชีวิตกำลังสอนอะไรเราอยู่ ?

ชีวิตใน 1 สัปดาห์ของ น้องไนท์ (นักเรียนชั้น ม.5) คือ การไปโรงเรียนวันจันทร์ ~ ศุกร์ และทำงานพิเศษวันเสาร์~ อาทิตย์ ไนท์ก็เหมือนจะต้องทำงาน 7 วันต่อสัปดาห์ ย้อนไปเมื่อ 5 ปีที่แล้วไนท์เรียนอยู่ชั้น ป.6 ไนท์เกือบไม่ได้เรียนต่อมัธยมเพราะฐานะทางบ้านแต่เขาก็สู้ด้วยการพยายามขอทุนเรียนต่อจนกระทั่ง ไนท์ได้รับทุนยุวพัฒน์ซึ่งเป็นทุนการศึกษาที่ให้ต่อเนื่องตั้งแต่ ม.1 จนถึง ม.6 โดยได้ทุน ปีละ 7,000 บาท และเป็นทุนให้เปล่า ถึงแม้ว่าไนท์จะได้ ทุนยุวพัฒน์ ที่เข้ามาช่วยค่าเทอม ค่าอุปกรณ์การเรียน  แต่ไนท์ก็ยังทำงานพิเศษหารายได้มามาใช้จ่ายในครอบครัว รวมถึงดูแลสุขภาพแม่และยาย ไนท์เริ่มทำงานก่อสร้างช่วงปิดเทอม ด้วยการขนปูน ขนหินอ่อน ขึ้น-ลง บันได 5 ชั้น วันละหลายรอบ ปูกระเบื้อง ลงยาแนวเวลาที่จะปูกระเบื้อง ก็ต้องคำนวณพื้นที่ว่าจะต้องใช้กระเบื้องจำนวนเท่าไหร่และไนท์ยังอยากที่จะเรียนรู้การเป็นช่างไฟเพิ่ม จนตอนนี้ไนท์อยู่ชั้น ม.5 แล้วไนท์ได้งานพิเศษ วันเสาร์-อาทิตย์ที่โรงน้ำใกล้บ้านในแต่ละวัน ไนท์ก็จะต้องแกะฝา เอาซีนออกแล้วฉีดน้ำแรงดันสูงเพื่อทำความสะอาดขวดน้ำทั้งภายในและภายนอกกะตำแหน่งให้น้ำไหลลงตรงขวดและใส่น้ำให้พอดี ไม่ล้นออกมา จากการทำงานหารายได้ด้วยตนเอง ทำให้ไนท์เห็นคุณค่าของเงินทุกบาททุกสตางค์ รวมถึงเงินทุนยุวพัฒน์ที่ถูกนำมาใช้จ่ายกับการเรียนอย่างแท้จริง “ผมเชื่อว่า หากไขว่คว้า สักวันจะได้สิ่งที่ดีกว่าอย่างเเน่นอนผมคิดว่าผมจะตอบแทนให้ได้ด้วยการช่วยเด็กนักเรียนทุนยุวพัฒน์คนอื่น ผมมั่นใจว่าในอนาคต ผมทำได้” … Read more ชีวิตกำลังสอนอะไรเราอยู่ ?

เด็กน้อย ครูไม่พอ โรงเรียนห่างไกล ใครจะไปเรียน?

เมื่อปี 2558  ณ โรงเรียนวังข่อยพิทยา จ.นครสวรรค์ โรงเรียนที่ได้ชื่อว่าเป็น ‘โรงเรียนมัธยมประจำตำบล’ แต่มีนักเรียน ม.1 – ม.6 เพียงร้อยกว่าคนครูที่นี่ อยู่กันปี สองปี ก็ย้ายกลับบ้านต่างจังหวัด (เนื่องจากนโยบายขณะนั้น อนุญาตให้ครูบรรจุใหม่ที่อยู่ครบ 2 ปี สามารถย้ายกลับภูมิลำเนาเดิมได้) ครูที่ยังสอนอยู่ ไม่ได้สอนตามเอกที่เรียนมา เช่น เป็นครูชีววิทยาแต่ต้องไปสอนคณิตศาสตร์เพราะครูไม่พอ “เรียนไปทำไม” “ทำไมต้องมาเรียนที่นี่” ท่ามกลางความสงสัยของเด็กและผู้ใหญ่บางคนที่ยังไม่ได้เห็นความสำคัญของการศึกษา หรือบางคนเห็นความสำคัญของการศึกษาแต่เลือกที่จะไปเรียนในเมืองมากกว่าด้วยบริบทที่ท้าทายเหล่านี้ จุดประกายให้ ผอ.รังสิวุฒิ พยายามหาทางที่จะพัฒนาโรงเรียนไม่ว่าจะมีเวทีไหนของชุมชน ผอ.ก็จะไปพูดเรื่องการพัฒนาคุณภาพการศึกษาและทำให้คนในชุมชนเห็นความสำคัญของการศึกษ จนกระทั่ง ผอ.รังสิวุฒิไปประชุมผู้บริหาร  “รู้จักโครงการร้อยพลังการศึกษาไหม?” “มันคืออะไรครับ” “เขามีเครื่องมือทางการศึกษาให้โรงเรียนเอาไปใช้” ตอนนั้น ผอ.รังสิวุฒิสนใจอยากรู้จักโครงการร้อยพลังการศึกษาจึงไปหาข้อมูลและทำหนังสือขอเข้าร่วมโครงการฯ  แม้ว่าตอนนั้น ยังมีผอ.โรงเรียนอื่นๆ ไม่เข้าร่วม แต่ผอ.รังสิวุฒิไม่ลังเล เพราะคิดว่าเป็นการเปิดโอกาสให้กับนักเรียนได้เรียนรู้ในรูปแบบใหม่ๆ เครื่องมือแรกที่โรงเรียนวังข่อยพิทยานำมาใช้ คือ โปรแกรมคอมพิวเตอร์สอนคณิตศาสตร์ที่ชื่อว่า เลิร์น เอ็ดดูเคชั่น (Learn Education) แต่โรงเรียนไม่มีคอมพิวเตอร์เพียงพอสำหรับนักเรียนหนึ่งห้อง และไม่มีงบประมาณที่จะจัดซื้อได้ผอ.รังสิวุฒิจึงปรึกษากับทีมงานโครงการร้อยพลังการศึกษาว่าจะทำยังไงได้บ้างทีมงานได้ประสานงานจัดหาคอมพิวเตอร์มือสองมาให้ จนนักเรียนได้ใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์เรียนคณิตศาสตร์เป็นครั้งแรก ดูเหมือนว่าทุกอย่างเริ่มราบรื่น ทว่า… “ใช้โปรแกรมสอนจะดีกว่าคนสอนได้ไง” … Read more เด็กน้อย ครูไม่พอ โรงเรียนห่างไกล ใครจะไปเรียน?

ถ้าย้อนเวลากลับไปได้จะเลือกเรียนอะไร

ตอนเด็กๆ ที่ครูให้เขียนอาชีพที่ใฝ่ฝัน บางคน..ได้เป็นในสิ่งที่เขียน บางคน..ค้นพบตัวเองใหม่ แต่บางคน..อาจไม่ได้เป็นสิ่งที่อยากเป็นเพราะ ‘กลัว’ อะไรบางอย่าง ‘น้องแพร’ สาวน้อยใส่แว่นที่คนอื่นอาจมองว่าเธอเป็นเด็กเรียน แต่ในมุมของแพรเอง เธอไม่ได้มองว่าตัวเองเป็นเด็กเรียน เพราะก็มีบางวิชาที่แพรไม่อยากเรียนถึงขั้นอยากจะหนี และเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้เธอเริ่มคิดว่าถ้าขึ้น ม.4 จะเรียนสายไหนดีเพื่อจะได้ไม่ต้องเรียนวิชานั้น คิดว่านักเรียน ม.3 อย่างแพร ไม่อยากเรียนวิชาอะไรคะ? ณ ตอนนั้นวิชาที่เปรียบเสมือนยาขมของแพร คือ ‘คณิตศาสตร์’ แพรไม่ชอบคณิตมาตั้งแต่ประถม เวลาถึงคาบคณิตฯ ทีไร แพรอยากจะหายตัวไปเลย แต่แล้ววันหนึ่ง… เมื่อแพรไปเจอเหตุการณ์คนประสบอุบัติเหตุ วินาทีที่ได้ยินเสียงดังโครม! มองเห็นร่างของผู้บาดเจ็บนอนอยู่ที่พื้น แพรอยากวิ่งเข้าไปช่วยทำอะไรบางอย่างก็ได้ที่จะช่วยคนตรงหน้าแต่แพรทำอะไรไม่ได้เลยแพรไม่รู้ว่าจะเริ่มจากตรงไหนตอนนั้น ความคิดที่ผุดขึ้นมาในหัว “ถ้าเราเป็นหมอก็คงดี” แต่กลับมีอีกเสียงค้านว่า “แต่จะเป็นหมอก็ต้องเรียนคณิตฯสิ เราไม่ชอบเรียนวิชานี้เลย” จนกระทั่ง ที่โรงเรียนได้นำเครื่องมือทางการศึกษาใหม่เข้ามาให้นักเรียนได้ใช้ในรายวิชา คณิตศาสตร์ ชื่อว่า “เลิร์น เอ็ดดูเคชั่น (Learn Education)” การเรียนคณิตศาสตร์ผ่านโปรแกรมเลิร์น เอ็ดดูเคชั่น ทำให้แพรเรียนจากการเห็นภาพ สามารถทบทวนบทเรียนได้ด้วยตนเอง จากความกลัวกลายเป็นเริ่มสนุก ผ่อนคลายและกลายเป็นความชอบเพราะพอเข้าใจมากขึ้นก็ทำให้ชอบคณิตฯมากขึ้น “ดีมากๆ เลยค่ะที่มีเครื่องมือเข้ามา มันเข้าใจมากกว่าเดิม เรียนเพลินไม่เครียด ตอนต้น ๆ … Read more ถ้าย้อนเวลากลับไปได้จะเลือกเรียนอะไร

โอกาสเล็กๆที่เราหยิบยื่นให้กับใครบางคน อาจกลายเป็นจุดเปลี่ยนที่ยิ่งใหญ่ในชีวิตของเขา

“การศึกษา คือ การลงทุน” เราคงคุ้นชินกับวลีนี้จนดูเป็นเรื่องธรรมดาที่เห็นอยู่ในชีวิตประจำวัน แต่กับใครบางคน มันแสดงถึงความเจ็บปวด เพราะถ้าหากไม่มี ‘ต้นทุนชีวิต’มากพอ เขาจะไปต่อได้อย่างไร? เราได้เดินทางไปพบกับเด็กหญิงคนหนึ่งหน้าตาน่ารัก เธอยิ้มทักเราด้วยใบหน้าที่ร่าเริงแจ่มใส  สีนวล เป็นเด็กหญิงคนหนึ่งที่ครอบครัวอาศัยอยู่บนดอยและทำมาหากินด้วยการรับจ้างทำการเกษตร  การเดินทางมาโรงเรียนก็ยากลำบาก วันหนึ่ง สีนวลถามคุณครูศุภราพรว่า “คุณครูคะ ทำไมเสื้อผ้าของครูกับเพื่อนบางคนถึงเรียบจังเลย กระโปรงก็ดูสวย” พอก้มลงมองที่กระโปรงของตัวเอง ก็เห็นความแตกต่างกระโปรงที่รีดเรียบเป็นจีบคม ดูสวยงาม ทำให้สีนวลสงสัยว่าคนอื่นๆ เขาทำอย่างนั้นได้อย่างไรกัน คุณครูตอบเธอกลับไปด้วยความเอ็นดู “เขาใช้เตารีด รีดผ้ากันจ้ะ” “เตารีดหรอคะ” “ใช่จ้ะ ไว้ครูจะสอนสีนวลรีดผ้านะ” หลังจากวันนั้น สีนวลก็มีโอกาสได้จับเตารีดและฝึกรีดผ้าที่บ้านของคุณครูศุภราพรซึ่งอยู่ไม่ไกลจากโรงเรียนสีนวลไปโรงเรียนด้วยความมั่นใจมากยิ่งขึ้นด้วยเสื้อผ้าเรียบ กระโปรงจีบสวย รอยยิ้มน่ารักของเธอปรากฏให้คุณครูได้เห็นความน่ารักสดใสและเป็นเด็กดีของสีนวลคงทำให้ใครหลาย ๆ คน ดังเช่น คุณครูและผู้พบเห็นอดเอ็นดูในความน่ารักของเธอไม่ได้แต่แล้ววันหนึ่งในคาบเรียนชั้นป.6 ครูสังเกตเห็นว่าท่าทีของสีนวลได้เปลี่ยนไป ท่าทีที่สดใสและรอยยิ้มของเธอนั้นหายไป การเรียนก็ตกลง เวลาอยู่ในห้องเรียนก็นั่งเหม่อลอย  เกิดอะไรขึ้น? “ถึงเรียนไปก็ต้องออกไปเป็นลูกจ้างเขาอยู่ดี” มีเสียงหนึ่งดังในหัวของสีนวลเวลาเริ่มนับถอยหลังเรื่อย ๆ เมื่อความจริงที่เธอเผชิญอยู่ คือ สีนวลจะได้เรียนถึงแค่ ป.6 เนื่องจากการมาโรงเรียนในแต่ละวันจะต้องมีภาระค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ตามมา ค่าใช้จ่ายในเรื่องของค่าบำรุงการศึกษา ค่าประกันที่นักเรียนทุกคนต้องมี ค่าอาหาร ค่าเดินทาง … Read more โอกาสเล็กๆที่เราหยิบยื่นให้กับใครบางคน อาจกลายเป็นจุดเปลี่ยนที่ยิ่งใหญ่ในชีวิตของเขา

“คนที่ทำให้หนูมีรอยยิ้มที่สุดในชั่วโมงเรียน”

ความใฝ่ฝันวัยเด็กของใครหลายๆ คน คงได้รับแรงบันดาลใจมาจากต้นแบบในชีวิต ในบรรดาบุคคลเหล่านั้น มีบุคคลสำคัญท่านหนึ่งในชีวิตของเรา นั่นคือ “ครู” เดิมทีน้องมาย เป็นเด็กที่ไม่ค่อยยิ้มหรือหัวเราะและมองว่าตัวเองมีความสุขน้อยกว่าคนอื่นเพราะเธอมักจะเก็บเรื่องราวความกังวลใจไว้คนเดียวไม่กล้าบอกใคร แต่อะไรที่ ครูมล สิรามล ตันศิริ (ครูผู้นำการเปลี่ยนแปลง โครงการทีชฟอร์ไทยแลนด์) ทำให้น้องมายกลับมามีเสียงหัวเราะอีกครั้ง “หนูไม่เคยอยากเป็นครูเลย แต่ครูมลก็ทำให้หนูอยากเป็นครู เวลาอยู่กับครูหนูมีความสุขมากที่สุดครูสอนแบบสร้างสรรค์และน่าสนใจ ทำให้เด็กที่ไม่รู้อะไรเลยสักเรื่องอย่างหนู ได้เรียนรู้อย่างรวดเร็วทำให้เด็กมีรอยยิ้ม เสียงหัวเราะ มีความสุขกับการที่ได้เรียนมากขึ้น ครูมลมีพลังทุกวันที่มาสอน” สิ่งที่น่าสนใจ คือ เมื่อเราไปสัมภาษณ์ครูมล ครูมลมองว่าสิ่งที่เธอทำเป็นเรื่องธรรมดาๆ เธอไม่ได้ปฏิบัติกับนักเรียนคนไหนในห้องเป็นพิเศษเพราะครูมลมองเห็น “เด็กทุกคนเท่ากัน” จากการสังเกตห้องเรียนของครูมลพบว่า ตอนสอนครูมลจะให้ความสนใจกับนักเรียนทุกคน โดยสุ่มให้ตอบคำถามเป็นเลขที่และพูดชื่นชมพฤติกรรมที่เหมาะสมเป็นรายบุคคลอย่างเฉพาะเจาะจง  เพื่อให้นักเรียนที่ทำได้รู้สึกภูมิใจและคนอื่นๆ ในห้องได้เห็นว่าครูต้องการให้นักเรียนมีพฤติกรรมแบบไหน เวลาทำแบบฝึกหัด ครูมลก็จะเดินไปหานักเรียนทุกคนที่โต๊ะ มีการพูดคุย แซว ถามไถ่เรื่องต่างๆ ไม่ใช่แค่เรื่องเรียน แต่นักเรียนสามารถพูดคุยกับครูมลได้ทุกเรื่อง ทำให้ช่องว่างระหว่างครูและนักเรียนลดน้อยลง  ครูมลพยายามชื่นชมพฤติกรรมที่เด็กทำได้ดีในทันที หรือ ใช้การเขียน Reflection เป็นการชื่นชมหรือให้คำแนะนำกับนักเรียนในสมุดของแต่ละคน สิ่งที่ดูธรรมดาในสายตาครูแต่เป็นการทำด้วยความจริงใจ ใส่ใจ และกระทำอย่างต่อเนื่อง ครูอาจจะมองว่าเป็นเรื่องเล็กๆ ในแต่ละวัน ในแต่ละคาบเรียน แต่ความจริงในอีกมุมของนักเรียน … Read more “คนที่ทำให้หนูมีรอยยิ้มที่สุดในชั่วโมงเรียน”

บริจาคมือถือและแท็บเล็ต ผ่านแคมเปญ “มือถือนี้พี่ให้น้อง(เรียน)”

บริจาคมือถือและแท็บเล็ต ผ่านแคมเปญ “มือถือนี้พี่ให้น้อง (เรียน)”

จากคนที่เคยถูกว่า ว่าเป็นครูที่แย่ที่สุด

ลาออกจาก ‘โรงแรม’ แล้วเบนเข็มมาสู่ ‘โรงเรียน’ ครูเมย์ จบการท่องเที่ยวและโรงแรม ทำงานอยู่โรงแรมกว่า 8 ปี  แต่ในระหว่างนั้น ครูเมย์เคยเป็นอาจารย์พิเศษในมหาวิทยาลัย ทำให้เธอมีความสุขที่ได้เห็นนักศึกษามีเป้าหมายในชีวิต นั่นคือจุดเริ่มต้นที่ทำให้ครูเมย์ตัดสินใจลาออกมาเป็นครูในโรงเรียนเอกชน แต่เรื่องราวการเป็นครูไม่ง่ายเลย ครูเมย์ไปสอนแต่คุมชั้นเรียนไม่ได้ จนถูกผู้ใหญ่ต่อว่า… “ครูเมย์รู้ไหมครับ ครูเมย์เป็นครูที่แย่ที่สุดในโรงเรียนเลย” “ฉันยังสามารถทำอาชีพครูได้ไหม?” เสียงก้องขึ้นในใจ การขาดประสบการณ์ ไม่มีอาวุธอะไรเลย ทำให้ครูเมย์ตัดสินใจหาวิธีติดอาวุธให้กับตัวเอง โดยการพาตัวเองไปอบรม Workshop ตามที่ต่าง ๆ และตัดสินใจเข้าร่วมโครงการทีช ฟอร์ ไทยแลนด์ (Teach for Thailand) ทว่า การมาเป็นครูทีชฟอร์ไทยแลนด์ในโรงเรียนมัธยมขยายโอกาส กลับยิ่งเพิ่มความท้าทาย เมื่อครูเมย์เข้าไปในโรงเรียนแบบที่ความตั้งใจเต็มเปี่ยม มีร้อยให้ร้อย ด้วยความเชื่อและความหวังที่อยากให้นักเรียนพัฒนาศักยภาพอย่างเต็มที่ ครูเมย์นอนตี 1 ตี 2  ตื่นแต่เช้า ลากกระเป๋าเดินทางใบใหญ่ที่ข้างในใส่สื่อการสอนไว้ คล้ายจะเดินทาง (จนครูพี่เลี้ยงยังถามว่าจะไปไหน) มาโรงเรียนทุกวัน เพราะครูเมย์ตั้งใจอยากจะนำสิ่งที่ดีที่สุดให้นักเรียน โดยที่ครูเมย์ลืมสังเกตไปเลยว่าความมุ่งมั่นของครูเกินร้อย แต่..ของนักเรียนล่ะ?? ความสวนทางระหว่าง ‘ความตั้งใจของครู’ กับ ‘ความร่วมมือของนักเรียน’ … Read more จากคนที่เคยถูกว่า ว่าเป็นครูที่แย่ที่สุด

เมื่อโลกเปลี่ยนเราต้องปรับ อัพสกิล “ครู” รับทักษะอนาคต กับ “เลิร์น เอ็ดดูเคชั่น”

AI อาจเอาชนะมนุษย์ได้ แต่ก็ไม่เหมือนกับมนุษย์ ดังนั้นคนต้องสร้างคน นั่นคือ “ครู” ให้มีทักษะ พร้อมสร้างเครื่องมือช่วยครูเพื่อรับมือศตวรรษที่ 21

โครงการ “ร้อยพลังการศึกษา” จัดสัมมนาเรียนรู้ความหลากหลายของ “เด็กชาติพันธุ์” เพื่อสร้างโอกาสการเรียนรู้ที่เท่าเทียม

ในประเทศไทยมี “เด็กชาติพันธุ์” ที่ไม่ได้พูดภาษาไทยเป็นภาษาหลัก จึงมักพบอุปสรรคในการเรียนรู้ และมีแนวโน้มที่จะออกจากโรงเรียนกลางคัน ดังนั้น จึงควรสร้างความเสมอภาคทางการศึกษา คือการให้สิทธิและโอกาส โดยไม่ขึ้นกับความแตกต่างในเรื่องถิ่นกำเนิด เชื้อชาติ และภาษา

“ร้อยพลังการศึกษา” ชวนคนไทย“บริจาคในโอกาสพิเศษ” ดีเดย์ธันวานี้ ให้เทศกาลแห่งความสุขช่วย “เด็กด้อยโอกาส”

การให้ “การศึกษา” เป็นการให้ที่มีอานิสงส์สูงสุดและมีคุณค่า ให้ทุกวันพิเศษของ “คุณ” เป็นวันแห่งการแบ่งปันให้กับ “เด็กด้อยโอกาส”

“มูลนิธิยุวพัฒน์” ก้าวของการช่วยเด็กด้อยโอกาส สู่ผลลัพธ์ทางสังคมที่ยั่งยืน

การเข้าถึงการศึกษาของเด็กด้อยโอกาส คือ เป้าหมายของ “ยุวพัฒน์” ด้วยความเชื่อที่ว่า การศึกษาคือพื้นฐานของการพัฒนา และสามารถทำให้เด็กเหล่านี้หลุดพ้นจากวัฏจักรแห่งความยากจนได้

“ทีช ฟอร์ ไทยแลนด์” เฟ้นหา “ผู้นำการเปลี่ยนแปลง รุ่นที่ 6” ลงสนามขับเคลื่อนการศึกษาคุณภาพ

การแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาอย่างยั่งยืน จำเป็นต้องได้รับความร่วมมือจากทุกฝ่าย รวมถึงการเข้ามามีส่วนร่วมของคนรุ่นใหม่
เพื่อทำหน้าที่ “ผู้นำการเปลี่ยนแปลง” สู่การสร้าง “คนคุณภาพ”