เรื่องวันดีจากครูวันดี

ด.ช.วันดี กลับมาเรียนชั้น ม.1 หลังจากที่เขาหยุดเรียนไป 2 ปี ทำให้วันดีมีพื้นฐานน้อยกว่าเพื่อนในห้องเดียวกัน เวลาครูบอกคำสั่งอะไรก็ตามในห้องเรียน ครูต้องอธิบายหลายรอบกว่าวันดีจะเข้าใจว่าครูให้ทำอะไร การสื่อสารด้วยภาษาไทยในการเรียนวิชาทั่วไปว่ายากแล้ว ถ้าเป็นการเรียนภาษาอังกฤษยิ่งยากกว่า วันดีแทบจะไม่ค่อยรู้คำศัพท์  แต่หากครูสะกดทีละตัวอักษรให้ วันดีก็พอจะเขียนตัวอักษรได้แต่ช้า เขายังสับสนระหว่างตัว b กับ d และใช้เวลาคิดว่าแต่ละตัวอักษรต้องเขียนอย่างไร  ความบังเอิญของเรื่องนี้ คือ วันดีได้เรียนภาษาอังกฤษกับคุณครูที่มีชื่อว่า “ครูวันดี” (ชื่อเขียนเหมือนกันเป๊ะ) คุณครูวันดีทราบว่าพื้นฐานนักเรียนหลายคนที่เข้ามาเรียน ม.1 บางคนก็มีปัญหาคล้ายกับวันดี เพราะเด็กบางคนแทบจะไม่ค่อยได้เรียนภาษาอังกฤษมาเลยในตอนชั้นประถม เนื่องจากโรงเรียนที่เคยเรียนขาดครูผู้สอนที่จบตรงเอกภาษาอังกฤษ ช่วงแรก การเรียนการสอนวิชาภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้น ม.1 ที่เข้าใหม่ยังขลุกขลักอยู่มาก เพราะไม่ใช่แค่ ด.ช.วันดีเพียงคนเดียว ยังมีนักเรียนอีกหลายคนที่มีพื้นฐานภาษาอังกฤษต่ำกว่าเกณฑ์  ในหนึ่งคาบเรียนครูวันดีสอนเนื้อหาได้ไม่มากเพราะต้องค่อยๆ อธิบายเพื่อให้นักเรียนทุกคนตามได้ทัน  คุณครูวันดี จึงพยายามทำให้การเรียนภาษาอังกฤษเป็นสิ่งที่น่าสนใจสำหรับเด็กๆ ก่อน โดยเริ่มต้นคาบเรียนด้วยการนำคลิปใน Youtube มาให้นักเรียนดูเพื่อดึงดูดความสนใจ  หลังจากนั้นก็จะให้นักเรียนเขียนพร้อมกัน ไปแบบช้าๆ สอนทีละเรื่อง หลังจากเขียนเสร็จ ครูก็จะให้ทุกคนยืนอ่าน เพื่อมั่นใจว่าทุกคนได้ฝึกทั้งการฟัง พูด อ่าน และเขียน  จนกระทั่งวันหนึ่ง โรงเรียนวัดตะคร้ำเอน ได้นำเครื่องมือหนึ่ง … Read more เรื่องวันดีจากครูวันดี

เด็กน้อย ครูไม่พอ โรงเรียนห่างไกล ใครจะไปเรียน?

เมื่อปี 2558  ณ โรงเรียนวังข่อยพิทยา จ.นครสวรรค์ โรงเรียนที่ได้ชื่อว่าเป็น ‘โรงเรียนมัธยมประจำตำบล’ แต่มีนักเรียน ม.1 – ม.6 เพียงร้อยกว่าคนครูที่นี่ อยู่กันปี สองปี ก็ย้ายกลับบ้านต่างจังหวัด (เนื่องจากนโยบายขณะนั้น อนุญาตให้ครูบรรจุใหม่ที่อยู่ครบ 2 ปี สามารถย้ายกลับภูมิลำเนาเดิมได้) ครูที่ยังสอนอยู่ ไม่ได้สอนตามเอกที่เรียนมา เช่น เป็นครูชีววิทยาแต่ต้องไปสอนคณิตศาสตร์เพราะครูไม่พอ “เรียนไปทำไม” “ทำไมต้องมาเรียนที่นี่” ท่ามกลางความสงสัยของเด็กและผู้ใหญ่บางคนที่ยังไม่ได้เห็นความสำคัญของการศึกษา หรือบางคนเห็นความสำคัญของการศึกษาแต่เลือกที่จะไปเรียนในเมืองมากกว่าด้วยบริบทที่ท้าทายเหล่านี้ จุดประกายให้ ผอ.รังสิวุฒิ พยายามหาทางที่จะพัฒนาโรงเรียนไม่ว่าจะมีเวทีไหนของชุมชน ผอ.ก็จะไปพูดเรื่องการพัฒนาคุณภาพการศึกษาและทำให้คนในชุมชนเห็นความสำคัญของการศึกษ จนกระทั่ง ผอ.รังสิวุฒิไปประชุมผู้บริหาร  “รู้จักโครงการร้อยพลังการศึกษาไหม?” “มันคืออะไรครับ” “เขามีเครื่องมือทางการศึกษาให้โรงเรียนเอาไปใช้” ตอนนั้น ผอ.รังสิวุฒิสนใจอยากรู้จักโครงการร้อยพลังการศึกษาจึงไปหาข้อมูลและทำหนังสือขอเข้าร่วมโครงการฯ  แม้ว่าตอนนั้น ยังมีผอ.โรงเรียนอื่นๆ ไม่เข้าร่วม แต่ผอ.รังสิวุฒิไม่ลังเล เพราะคิดว่าเป็นการเปิดโอกาสให้กับนักเรียนได้เรียนรู้ในรูปแบบใหม่ๆ เครื่องมือแรกที่โรงเรียนวังข่อยพิทยานำมาใช้ คือ โปรแกรมคอมพิวเตอร์สอนคณิตศาสตร์ที่ชื่อว่า เลิร์น เอ็ดดูเคชั่น (Learn Education) แต่โรงเรียนไม่มีคอมพิวเตอร์เพียงพอสำหรับนักเรียนหนึ่งห้อง และไม่มีงบประมาณที่จะจัดซื้อได้ผอ.รังสิวุฒิจึงปรึกษากับทีมงานโครงการร้อยพลังการศึกษาว่าจะทำยังไงได้บ้างทีมงานได้ประสานงานจัดหาคอมพิวเตอร์มือสองมาให้ จนนักเรียนได้ใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์เรียนคณิตศาสตร์เป็นครั้งแรก ดูเหมือนว่าทุกอย่างเริ่มราบรื่น ทว่า… “ใช้โปรแกรมสอนจะดีกว่าคนสอนได้ไง” … Read more เด็กน้อย ครูไม่พอ โรงเรียนห่างไกล ใครจะไปเรียน?