“รู้แล้วทำไมยังทำอีก”
นักเรียนชั้น ม.5 คนหนึ่ง เล่าว่า.. เวลาที่เธอเข้าไปปรึกษาปัญหากับผู้ใหญ่ หลายครั้งที่เธอรู้ในสิ่งที่ตนเองทำผิดพลาด แต่การถูกตอกย้ำด้วยคำพูดเหล่านั้นยิ่งทำให้เธอตั้งกำแพงขึ้นมา และไม่กล้าไปปรึกษา เพราะ พื้นที่ตรงนั้นไม่ใช่ “พื้นที่ปลอดภัย” สำหรับเธอ ครูต้น ครูแนะแนวผู้พยายามสร้างพื้นที่ปลอดภัยให้นักเรียน แต่ก่อนที่จะมาถึงวันนี้ ครูต้นก็รู้สึกว่าตนเองเคยเป็นคนที่ ‘ตัดสิน’ นักเรียนมาก่อน ตลอดระยะเวลา15 ปี ที่เป็นครูแนะแนว เวลาที่มีนักเรียนมาปรึกษาปัญหา ครูต้นใช้กระบวนการให้คำปรึกษาตามหลักจิตวิทยาและการแนะแนว แต่มีบางครั้งที่ครูต้นก็เผลอคิดว่า… “ปัญหาแบบนี้ ก็ต้องแก้แบบนี้สิ” คำตอบที่มาจากประสบการณ์ของผู้ใหญ่อาจกลายเป็นคำตอบสำเร็จรูปที่ไม่ได้ใช้กับเด็กได้ทุกคน และที่สำคัญวิธีการเหล่านั้น ไม่ใช่คำตอบที่มาจากตัวของเด็กเอง จนกระทั่ง ครูต้นได้เข้าร่วมอบรม “โครงการครูแนะแนวรุ่นใหม่สร้างเด็กไทยให้ออกแบบชีวิตตนเองได้” ภาพที่เกิดขึ้นครั้งแรกที่เข้าร่วมอบรม ไม่ได้เป็นไปอย่างที่ครูต้นคาดหวังไว้ ครูแนะแนวทุกท่านที่มาที่นี่ร่วมกิจกรรมโดยนั่งพื้น เล่นเกม ทำกิจกรรมไม่ต่างจากเด็ก แต่นี่คือ สิ่งที่ องค์กรอาชีฟ (a-chieve) ผู้จัดโครงการครูแนะแนวรุ่นใหม่ฯ ต้องการให้คุณครูเป็นผู้เรียนรู้ผ่านประสบการณ์ของตนเองก่อนที่จะนำกระบวนการต่างๆไปใช้จริงกับนักเรียน กระบวนการที่ครูต้นสนใจและอยากนำกลับมาใช้ คือ “การสร้างพื้นที่ปลอดภัย” และ “การรับฟังแบบไม่ตัดสิน” ช่วงแรกที่ครูต้นพยายามเอากระบวนการที่ได้จากการอบรมกลับมาใช้ในโรงเรียน ไม่ใช่เรื่องง่ายดาย หรือสวยหรูอย่างที่คิดไว้ ครูต้นพยายามสร้างพื้นที่ปลอดภัยให้นักเรียน สอนให้เด็กๆรู้จักฟังกันโดยครูต้นทำเป็นแบบอย่าง แต่ครูต้นก็ยังถูกนักเรียนล้อในช่วงแรกด้วยประโยคที่ครูต้นมักจะพูดกับเด็กๆ นั่นคือ “ถ้ามีคนพูดต้องมีคนฟัง” บางทีสอนๆอยู่ … Read more “รู้แล้วทำไมยังทำอีก”