โอกาสเล็กๆที่เราหยิบยื่นให้กับใครบางคน อาจกลายเป็นจุดเปลี่ยนที่ยิ่งใหญ่ในชีวิตของเขา

“การศึกษา คือ การลงทุน” เราคงคุ้นชินกับวลีนี้จนดูเป็นเรื่องธรรมดาที่เห็นอยู่ในชีวิตประจำวัน แต่กับใครบางคน มันแสดงถึงความเจ็บปวด เพราะถ้าหากไม่มี ‘ต้นทุนชีวิต’มากพอ เขาจะไปต่อได้อย่างไร? เราได้เดินทางไปพบกับเด็กหญิงคนหนึ่งหน้าตาน่ารัก เธอยิ้มทักเราด้วยใบหน้าที่ร่าเริงแจ่มใส  สีนวล เป็นเด็กหญิงคนหนึ่งที่ครอบครัวอาศัยอยู่บนดอยและทำมาหากินด้วยการรับจ้างทำการเกษตร  การเดินทางมาโรงเรียนก็ยากลำบาก วันหนึ่ง สีนวลถามคุณครูศุภราพรว่า “คุณครูคะ ทำไมเสื้อผ้าของครูกับเพื่อนบางคนถึงเรียบจังเลย กระโปรงก็ดูสวย” พอก้มลงมองที่กระโปรงของตัวเอง ก็เห็นความแตกต่างกระโปรงที่รีดเรียบเป็นจีบคม ดูสวยงาม ทำให้สีนวลสงสัยว่าคนอื่นๆ เขาทำอย่างนั้นได้อย่างไรกัน คุณครูตอบเธอกลับไปด้วยความเอ็นดู “เขาใช้เตารีด รีดผ้ากันจ้ะ” “เตารีดหรอคะ” “ใช่จ้ะ ไว้ครูจะสอนสีนวลรีดผ้านะ” หลังจากวันนั้น สีนวลก็มีโอกาสได้จับเตารีดและฝึกรีดผ้าที่บ้านของคุณครูศุภราพรซึ่งอยู่ไม่ไกลจากโรงเรียนสีนวลไปโรงเรียนด้วยความมั่นใจมากยิ่งขึ้นด้วยเสื้อผ้าเรียบ กระโปรงจีบสวย รอยยิ้มน่ารักของเธอปรากฏให้คุณครูได้เห็นความน่ารักสดใสและเป็นเด็กดีของสีนวลคงทำให้ใครหลาย ๆ คน ดังเช่น คุณครูและผู้พบเห็นอดเอ็นดูในความน่ารักของเธอไม่ได้แต่แล้ววันหนึ่งในคาบเรียนชั้นป.6 ครูสังเกตเห็นว่าท่าทีของสีนวลได้เปลี่ยนไป ท่าทีที่สดใสและรอยยิ้มของเธอนั้นหายไป การเรียนก็ตกลง เวลาอยู่ในห้องเรียนก็นั่งเหม่อลอย  เกิดอะไรขึ้น? “ถึงเรียนไปก็ต้องออกไปเป็นลูกจ้างเขาอยู่ดี” มีเสียงหนึ่งดังในหัวของสีนวลเวลาเริ่มนับถอยหลังเรื่อย ๆ เมื่อความจริงที่เธอเผชิญอยู่ คือ สีนวลจะได้เรียนถึงแค่ ป.6 เนื่องจากการมาโรงเรียนในแต่ละวันจะต้องมีภาระค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ตามมา ค่าใช้จ่ายในเรื่องของค่าบำรุงการศึกษา ค่าประกันที่นักเรียนทุกคนต้องมี ค่าอาหาร ค่าเดินทาง … Read more โอกาสเล็กๆที่เราหยิบยื่นให้กับใครบางคน อาจกลายเป็นจุดเปลี่ยนที่ยิ่งใหญ่ในชีวิตของเขา

โครงการ “ร้อยพลังการศึกษา” จัดสัมมนาเรียนรู้ความหลากหลายของ “เด็กชาติพันธุ์” เพื่อสร้างโอกาสการเรียนรู้ที่เท่าเทียม

ในประเทศไทยมี “เด็กชาติพันธุ์” ที่ไม่ได้พูดภาษาไทยเป็นภาษาหลัก จึงมักพบอุปสรรคในการเรียนรู้ และมีแนวโน้มที่จะออกจากโรงเรียนกลางคัน ดังนั้น จึงควรสร้างความเสมอภาคทางการศึกษา คือการให้สิทธิและโอกาส โดยไม่ขึ้นกับความแตกต่างในเรื่องถิ่นกำเนิด เชื้อชาติ และภาษา

“มูลนิธิยุวพัฒน์” ก้าวของการช่วยเด็กด้อยโอกาส สู่ผลลัพธ์ทางสังคมที่ยั่งยืน

การเข้าถึงการศึกษาของเด็กด้อยโอกาส คือ เป้าหมายของ “ยุวพัฒน์” ด้วยความเชื่อที่ว่า การศึกษาคือพื้นฐานของการพัฒนา และสามารถทำให้เด็กเหล่านี้หลุดพ้นจากวัฏจักรแห่งความยากจนได้

เปลี่ยนวัยว้าวุ่นให้เป็น “วัยรุ่นอุ่นใจ” ติดอาวุธ “ทักษะชีวิต” กับพี่เลี้ยงอาสาและเพื่อนร่วมรั้วเรียน

ความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาของเด็กด้อยโอกาส ไม่เพียงขาดเงินทุนที่จะเข้าถึงการศึกษาเท่านั้น แต่เด็กส่วนใหญ่มาจากครอบครัวที่เปราะบาง
ทำให้ขาดทักษะชีวิตและหลุดออกจากระบบการศึกษา

“โรงเรียนวัดตะคร้ำเอน” บทเรียนจากพลัง “ท้องถิ่น” ร่วมลดความเหลื่อมล้ำ

เพราะเชื่อว่า…หากเริ่มต้นที่ “ชุมชน”และชุมชนเข้มแข็งแล้ว การจัดการ “การศึกษา”ก็จะตามมาเอง วันนี้ “โรงเรียนวัดตะคร้ำเอน” มีต้นทุนที่ดี
นั่นคือ “พลังท้องถิ่น” ซึ่งมีส่วนช่วยให้เกิด “การเปลี่ยนแปลง”