เด็กน้อย ครูไม่พอ โรงเรียนห่างไกล ใครจะไปเรียน?

เมื่อปี 2558  ณ โรงเรียนวังข่อยพิทยา จ.นครสวรรค์ โรงเรียนที่ได้ชื่อว่าเป็น ‘โรงเรียนมัธยมประจำตำบล’ แต่มีนักเรียน ม.1 – ม.6 เพียงร้อยกว่าคนครูที่นี่ อยู่กันปี สองปี ก็ย้ายกลับบ้านต่างจังหวัด (เนื่องจากนโยบายขณะนั้น อนุญาตให้ครูบรรจุใหม่ที่อยู่ครบ 2 ปี สามารถย้ายกลับภูมิลำเนาเดิมได้) ครูที่ยังสอนอยู่ ไม่ได้สอนตามเอกที่เรียนมา เช่น เป็นครูชีววิทยาแต่ต้องไปสอนคณิตศาสตร์เพราะครูไม่พอ “เรียนไปทำไม” “ทำไมต้องมาเรียนที่นี่” ท่ามกลางความสงสัยของเด็กและผู้ใหญ่บางคนที่ยังไม่ได้เห็นความสำคัญของการศึกษา หรือบางคนเห็นความสำคัญของการศึกษาแต่เลือกที่จะไปเรียนในเมืองมากกว่าด้วยบริบทที่ท้าทายเหล่านี้ จุดประกายให้ ผอ.รังสิวุฒิ พยายามหาทางที่จะพัฒนาโรงเรียนไม่ว่าจะมีเวทีไหนของชุมชน ผอ.ก็จะไปพูดเรื่องการพัฒนาคุณภาพการศึกษาและทำให้คนในชุมชนเห็นความสำคัญของการศึกษ จนกระทั่ง ผอ.รังสิวุฒิไปประชุมผู้บริหาร  “รู้จักโครงการร้อยพลังการศึกษาไหม?” “มันคืออะไรครับ” “เขามีเครื่องมือทางการศึกษาให้โรงเรียนเอาไปใช้” ตอนนั้น ผอ.รังสิวุฒิสนใจอยากรู้จักโครงการร้อยพลังการศึกษาจึงไปหาข้อมูลและทำหนังสือขอเข้าร่วมโครงการฯ  แม้ว่าตอนนั้น ยังมีผอ.โรงเรียนอื่นๆ ไม่เข้าร่วม แต่ผอ.รังสิวุฒิไม่ลังเล เพราะคิดว่าเป็นการเปิดโอกาสให้กับนักเรียนได้เรียนรู้ในรูปแบบใหม่ๆ เครื่องมือแรกที่โรงเรียนวังข่อยพิทยานำมาใช้ คือ โปรแกรมคอมพิวเตอร์สอนคณิตศาสตร์ที่ชื่อว่า เลิร์น เอ็ดดูเคชั่น (Learn Education) แต่โรงเรียนไม่มีคอมพิวเตอร์เพียงพอสำหรับนักเรียนหนึ่งห้อง และไม่มีงบประมาณที่จะจัดซื้อได้ผอ.รังสิวุฒิจึงปรึกษากับทีมงานโครงการร้อยพลังการศึกษาว่าจะทำยังไงได้บ้างทีมงานได้ประสานงานจัดหาคอมพิวเตอร์มือสองมาให้ จนนักเรียนได้ใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์เรียนคณิตศาสตร์เป็นครั้งแรก ดูเหมือนว่าทุกอย่างเริ่มราบรื่น ทว่า… “ใช้โปรแกรมสอนจะดีกว่าคนสอนได้ไง” … Read more เด็กน้อย ครูไม่พอ โรงเรียนห่างไกล ใครจะไปเรียน?

ถ้าย้อนเวลากลับไปได้จะเลือกเรียนอะไร

ตอนเด็กๆ ที่ครูให้เขียนอาชีพที่ใฝ่ฝัน บางคน..ได้เป็นในสิ่งที่เขียน บางคน..ค้นพบตัวเองใหม่ แต่บางคน..อาจไม่ได้เป็นสิ่งที่อยากเป็นเพราะ ‘กลัว’ อะไรบางอย่าง ‘น้องแพร’ สาวน้อยใส่แว่นที่คนอื่นอาจมองว่าเธอเป็นเด็กเรียน แต่ในมุมของแพรเอง เธอไม่ได้มองว่าตัวเองเป็นเด็กเรียน เพราะก็มีบางวิชาที่แพรไม่อยากเรียนถึงขั้นอยากจะหนี และเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้เธอเริ่มคิดว่าถ้าขึ้น ม.4 จะเรียนสายไหนดีเพื่อจะได้ไม่ต้องเรียนวิชานั้น คิดว่านักเรียน ม.3 อย่างแพร ไม่อยากเรียนวิชาอะไรคะ? ณ ตอนนั้นวิชาที่เปรียบเสมือนยาขมของแพร คือ ‘คณิตศาสตร์’ แพรไม่ชอบคณิตมาตั้งแต่ประถม เวลาถึงคาบคณิตฯ ทีไร แพรอยากจะหายตัวไปเลย แต่แล้ววันหนึ่ง… เมื่อแพรไปเจอเหตุการณ์คนประสบอุบัติเหตุ วินาทีที่ได้ยินเสียงดังโครม! มองเห็นร่างของผู้บาดเจ็บนอนอยู่ที่พื้น แพรอยากวิ่งเข้าไปช่วยทำอะไรบางอย่างก็ได้ที่จะช่วยคนตรงหน้าแต่แพรทำอะไรไม่ได้เลยแพรไม่รู้ว่าจะเริ่มจากตรงไหนตอนนั้น ความคิดที่ผุดขึ้นมาในหัว “ถ้าเราเป็นหมอก็คงดี” แต่กลับมีอีกเสียงค้านว่า “แต่จะเป็นหมอก็ต้องเรียนคณิตฯสิ เราไม่ชอบเรียนวิชานี้เลย” จนกระทั่ง ที่โรงเรียนได้นำเครื่องมือทางการศึกษาใหม่เข้ามาให้นักเรียนได้ใช้ในรายวิชา คณิตศาสตร์ ชื่อว่า “เลิร์น เอ็ดดูเคชั่น (Learn Education)” การเรียนคณิตศาสตร์ผ่านโปรแกรมเลิร์น เอ็ดดูเคชั่น ทำให้แพรเรียนจากการเห็นภาพ สามารถทบทวนบทเรียนได้ด้วยตนเอง จากความกลัวกลายเป็นเริ่มสนุก ผ่อนคลายและกลายเป็นความชอบเพราะพอเข้าใจมากขึ้นก็ทำให้ชอบคณิตฯมากขึ้น “ดีมากๆ เลยค่ะที่มีเครื่องมือเข้ามา มันเข้าใจมากกว่าเดิม เรียนเพลินไม่เครียด ตอนต้น ๆ … Read more ถ้าย้อนเวลากลับไปได้จะเลือกเรียนอะไร