เมื่อมือถือเก่าของพี่ๆ มีค่า เป็นเครื่องมือให้น้องๆ ในโครงการ “ร้อยพลังการศึกษา” ได้เรียนผ่านระบบออนไลน์ “ฟรี”

บริจาคมือถือ

ในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อโควิด-19 ที่ทำให้หลายโรงเรียนต้องปรับกระบวนการเรียนการสอนใหม่ เพื่อช่วยให้นักเรียนสามารถเรียนต่อได้ในสถานการณ์เร่งด่วนนี้ ร้อยพลังการศึกษาจัดแคมเปญพิเศษ “มือถือนี้ พี่ให้น้อง(เรียน)” จัดหาอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์สภาพ ไม่ว่าจะเป็น คอมพิวเตอร์ โน๊ตบุ๊ค แท็บเล็ต หรือสมาร์ทโฟน โดยนำอุปกรณ์เหล่านี้ไปสร้างโอกาสในการเข้าถึงการศึกษา “มือถือนี้ พี่ให้น้อง (เรียน)” ได้รับความร่วมมือจาก ร้านปันกัน โดย มูลนิธิยุวพัฒน์ ศูนย์รวมแห่งการแบ่งปันของคนในสังคม มาร่วมเป็นสื่อกลางในการเปิดรับบริจาคให้โครงการร้อยพลังการศึกษาและยังเชิญชวนคนทั่วไปมาร่วมบริจาคอีกด้วย แคมเปญนี้ได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก สามารถระดมมือถือและแท็บเล็ตได้ 68 เครื่อง ณัฏฐฑิดา ปิณฑานนท์ ตัวแทนจากชมรม Clueless Corona by Molecular Science International Community School หนึ่งในกลุ่มพลังของคนตัวเล็กที่อยากช่วยพัฒนาคุณภาพการศึกษาให้เกิดความเท่าเทียมกันในสังคมไทย กล่าวว่า “ในช่วงโควิดเราต้องเรียนออนไลน์ จึงอยากให้โอกาสกับน้องๆ ที่อาจจะไม่มีโอกาสได้ซื้อแท็บเล็ตหรือโทรศัพท์ สามารถมีโอกาสเรียนต่อได้เหมือนกัน เราจึงเปิดรับและรวบรวมเครื่องคอมพิวเตอร์ แท็บเล็ต โทรศัพท์มือถือ จากทุกคนในโรงเรียนมาร่วมบริจาคให้กับปันกัน และอยากเชิญชวนให้ทุกคนมาช่วยบริจาคเยอะๆ เพื่อให้สิทธิในการเรียนของน้องๆ คนที่ไม่มีเงินซื้อ เพราะคิดว่าถ้าเรามีเงินพอที่จะสามารถเรียนรู้ได้ คนที่ไม่มีเงินก็ควรจะมีสิทธิในการเรียนรู้ได้เหมือนกัน” ร้อยพลังการศึกษาขอขอบคุณทุกคนที่มีส่วนร่วมในการมอบโอกาสทางการศึกษาให้น้องๆ นักเรียนในโครงการ “ร้อยพลังการศึกษา” … Read more เมื่อมือถือเก่าของพี่ๆ มีค่า เป็นเครื่องมือให้น้องๆ ในโครงการ “ร้อยพลังการศึกษา” ได้เรียนผ่านระบบออนไลน์ “ฟรี”

มาโรงเรียนไม่ได้เงินออกไปทำงานดีกว่า…

“ผมอยากเป็นไกด์ แต่ยังพูดภาษาอังกฤษไม่ได้เลย ส่วนเพื่อนที่ลาออกไปตั้งแต่ ป.6 เป็นไกด์ที่ปางช้าง หาเงินได้ตั้งเยอะ” คำพูดของนักเรียนชาย ม.5 คนหนึ่งพูดกับ ผอ.ประเสริฐศักดิ์ เหมือนหาญ เขาอยากมีความรู้ มีทักษะที่จะไปประกอบอาชีพได้ แต่เมื่อลองเทียบตัวเองกับเพื่อนที่ไม่ได้เรียนดูกลับพบว่าเพื่อนที่ลาออกไปทำงานตั้งแต่ ป.6 เป็นไกด์นำเที่ยว มีรายได้เลี้ยงตัวเอง และพูดภาษาอังกฤษได้ดีกว่าตนที่เรียน ม.5 สายศิลป์ภาษา พอได้ฟังคำพูดของนักเรียนคนนี้แล้ว ผอ.ประเสริฐศักดิ์ ซึ่งเพิ่งย้ายมาเป็นผู้บริหารที่โรงเรียนแม่วินสามัคคีแทบเข่าทรุด เขาคิดว่าถ้าเป็นอย่างนี้แสดงว่าการเรียนการสอนที่เป็นอยู่ไม่ได้ตอบโจทย์ความต้องการของผู้เรียน ไม่ได้ตอบโจทย์พื้นที่ชุมชน  โรงเรียนแห่งนี้มีเด็กที่ลงมาจากบนดอย เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ เช่น ม้ง ปกาเกอะญอ มูเซอ ไทยใหญ่ ฯลฯ มาเรียนและพักที่โรงเรียนกว่า 300 คน เด็กหลายคนเรียนจบ ป.6 ก็ต้องออกไปช่วยพ่อแม่ทำงาน เพราะความยากลำบากและทัศนคติที่คิดว่ามาโรงเรียนไม่ได้เงิน ออกไปทำงานดีกว่า สิ่งนี้ คือ สิ่งที่โรงเรียนต้องต่อสู้ จะทำอย่างไรให้พวกเขาเห็นว่า การเรียนก็เหมือนการลงทุนที่ผลตอบแทนและกำไรอาจจะไม่ได้รวดเร็วทันใจแต่ต้องใช้เวลา ผอ.จึงอยากจะสร้างโรงเรียนแม่วินสามัคคีให้เป็นโรงเรียนนวัตกรรมต้นแบบของเชียงใหม่ แล้วจะสร้างนักเรียนของเชียงใหม่อย่างไรล่ะ ที่ตอบโจทย์เชิงพื้นที่ ทั้งวัฒนธรรม วิถีชีวิต และชุมชน ปี 2561 ที่ผ่านมาจึงมีการปรับเปลี่ยนการสอนให้สอดคล้องกับบริบทมากขึ้น โดยมีการฝึกอาชีพให้กับเด็กๆ … Read more มาโรงเรียนไม่ได้เงินออกไปทำงานดีกว่า…

คอมจะสอนดีกว่าครูได้อย่างไร?

“ครูครับ หูฟังผมไม่ดัง” “ครูคะ คอมหนูค้าง” “ครู เน็ตเข้าไม่ได้”  ลำพังแค่การออกแบบการสอนตามปกติก็ใช้เวลามากแล้ว แต่พอมีโปรแกรมคอมพิวเตอร์เข้ามาทำให้ครูต้องทำงานหนักขึ้น 2 เท่า ครูกิ๊ก ครูคณิตฯ ที่ได้ใช้โปรแกรม “เลิร์นเอ็ดดูเคชั่น (Learn Education)” โปรแกรมคอมพิวเตอร์สอนคณิตศาสตร์ในการสอนนักเรียนชั้น ม.ต้น สิ่งที่ครูกิ๊กต้องเผชิญคือในช่วงแรก ครูยอมรับเลยว่าห้องเรียนค่อนข้างเละเทะ เพราะครูเองก็ยังไม่รู้ว่าจะผสมผสานการสอนของครูและคอมฯ ได้อย่างไร  ความอลหม่านในคาบเรียน ที่ต้องแก้ปัญหาทางเทคนิค  ครูกิ๊กรู้สึกว่าตนเองใช้พลังงานในคาบเรียนเลิร์นเอ็ดดูเคชั่นมากกว่าการสอนด้วยตนเองเสียอีก แค่กว่านักเรึยนจะเปิดคอมฯ เข้าโปรแกรมก็กินเวลาเรียนไปมากแล้ว ครูกิ๊กจึงเริ่มปรับวิธีการใหม่โดยไปเปิดคอมฯ รอนักเรียนก่อนหรือประสานกับคุณครูท่านอื่นที่ใช้ห้องคอมฯ ก่อนหน้าว่าจะใช้คอมฯ ต่อในคาบถัดไป เพื่อให้นักเรียนสามารถเข้ามาถึงแล้วใช้โปรแกรมได้เลย นอกจากนั้น ครูกิ๊กยังกลับไปดูบทเรียนในโปรแกรมเลิร์นเอ็ดดูเคชั่นล่วงหน้าว่า ในโปรแกรมสอนเรื่องอะไรบ้าง ครูจะได้เลือกว่า บทเรียนไหนที่ให้เด็กเรียนกับโปรแกรมหรือบทเรียนไหนที่ครูจะสอนเอง เช่น……. – เรื่อง รูปเรขาคณิต เด็กๆ เรียนในโปรแกรมแล้ว เห็นภาพเคลื่อนไหวชัดเจน ทำให้เด็กเข้าใจง่ายกว่าการที่ครูจะเขียนรูป 2 มิติบนกระดาน – เรื่อง สถิติ  ในโปรแกรมเหมือนพาเด็กๆ ออกจากห้องเรียน ด้วยการมีคลิปวีดิโอพานักเรียนไปดูวิธีการเก็บข้อมูลทางสถิติ การทำแบบสอบถามและนำเสนอเป็นสถิติ ทำให้เด็กๆ … Read more คอมจะสอนดีกว่าครูได้อย่างไร?

“ผมเรียนจากการอ่านปากครู”

‘เก้า’ นักเรียนชั้น ม.3  ผู้ชื่นชอบการเตะฟุตบอล แต่สิ่งที่เก้าชอบมากกว่าคือการนั่งมองไปที่สนาม เห็นเพื่อนๆแข่งบอลแล้วคิดว่าจะทำยังไงให้ทีมชนะ  เก้าชอบมองภาพว่าเพื่อนวิ่งจากจุดนี้ไปอีกจุดใช้เวลาประมาณเท่าไหร่ ในหัวของเก้าก็มักจะคาดคะเนคร่าวๆ แต่เวลาอยู่ในห้องเรียน ตัวหนังสือบนกระดานกลับเป็นอุปสรรคเสียเหลือเกิน  เก้าต้องใช้เวลาในการมองตัวอักษร  ประสมสระในหัว เพราะแม้จะเป็นตัวอักษรแต่เก้ามองเป็นภาพมากกว่า ทำให้เวลาเรียนเก้าใช้วิธีการอ่านปากครูเวลาที่ครูอธิบายแทน ซึ่งทำให้เวลาที่ครูพูดเร็ว เก้ายิ่งเข้าใจสิ่งต่างๆได้ยากขึ้นไปอีก คุณครูหลายท่านจึงเป็นห่วงในเรื่องการเรียนรู้ของเก้าที่ช้ากว่าเพื่อนๆ โดยเฉพาะการอ่าน การเขียน “ไม่ใช่ทุกคนที่จะเก่งไปเสียทุกเรื่อง ทำได้ดีไปเสียทุกอย่าง แต่ว่ามันต้องมีสักเรื่องที่เราเก่งแหละ” คำพูดให้กำลังใจจากครูพลับ แม้จะมีบางเวลาที่รู้สึกว่ายากลำบากในการเรียนหนังสือ แต่เก้าเชื่อในสิ่งที่ครูพลับบอกว่า มันต้องมีสักเรื่องสินะที่เราเก่ง เก้าเริ่มค้นพบว่าเขาชอบเรียนคณิตศาสตร์ โดยเฉพาะเรื่องแบบรูป แผนภูมิต้นไม้ คุณพ่อของเก้าก็คอยสนับสนุนและกระตุ้นให้เก้าทำแบบฝึกหัดมาล่วงหน้า แต่เวลาคุณครูเฉลยหรือแสดงวิธีทำบนกระดาน ก็ยังคงเป็นสิ่งที่ท้าทายสำหรับเก้ามาก เมื่อใดก็ตามที่ครูพูดอธิบายโดยไม่เขียนบนกระดานไปด้วยจะยิ่งทำให้เก้า ‘เรียนตามไม่ทัน’  จนกระทั่ง คุณครูพลับได้นำโปรแกรม  “Learn Education” เข้ามาใช้ในคาบเรียนคณิตศาสตร์ เก้าเริ่มเข้าใจคณิตศาสตร์มากขึ้น เพราะในโปรแกรมมีตัวอย่างภาพ และเขียนแสดงวิธีทำอย่างละเอียดแบบที่เก้าสามารถกดหยุดดู กดย้อนหลัง และจดตามได้ อีกทั้งช่วยเอื้อให้เก้าจดจ่อกับการเรียนคณิตศาสตร์ได้มากยิ่งขึ้น  ครูพลับยังกระตุ้นให้นักเรียนทุกคนในห้องทำแบบฝึกหัดมาล่วงหน้า ข้อไหนทำได้ทำมาก่อนได้เลยโดยไม่ต้องรอครูสั่ง แต่ถ้าเรื่องไหนยังทำไม่ได้ ครูก็จะอธิบายในห้องเรียนพร้อมๆกัน  ทั้งแรงกระตุ้นจากคุณพ่อ คุณครู มีเครื่องมือเข้ามาช่วย ประกอบกับความขยันและความพยายามของตัวเก้าเอง  เก้าลองทำแบบฝึกหัดมาล่วงหน้าโดยเป็นเรื่องที่ครูยังไม่ได้สอน ผลปรากฏว่า… … Read more “ผมเรียนจากการอ่านปากครู”

เด็กน้อย ครูไม่พอ โรงเรียนห่างไกล ใครจะไปเรียน?

เมื่อปี 2558  ณ โรงเรียนวังข่อยพิทยา จ.นครสวรรค์ โรงเรียนที่ได้ชื่อว่าเป็น ‘โรงเรียนมัธยมประจำตำบล’ แต่มีนักเรียน ม.1 – ม.6 เพียงร้อยกว่าคนครูที่นี่ อยู่กันปี สองปี ก็ย้ายกลับบ้านต่างจังหวัด (เนื่องจากนโยบายขณะนั้น อนุญาตให้ครูบรรจุใหม่ที่อยู่ครบ 2 ปี สามารถย้ายกลับภูมิลำเนาเดิมได้) ครูที่ยังสอนอยู่ ไม่ได้สอนตามเอกที่เรียนมา เช่น เป็นครูชีววิทยาแต่ต้องไปสอนคณิตศาสตร์เพราะครูไม่พอ “เรียนไปทำไม” “ทำไมต้องมาเรียนที่นี่” ท่ามกลางความสงสัยของเด็กและผู้ใหญ่บางคนที่ยังไม่ได้เห็นความสำคัญของการศึกษา หรือบางคนเห็นความสำคัญของการศึกษาแต่เลือกที่จะไปเรียนในเมืองมากกว่าด้วยบริบทที่ท้าทายเหล่านี้ จุดประกายให้ ผอ.รังสิวุฒิ พยายามหาทางที่จะพัฒนาโรงเรียนไม่ว่าจะมีเวทีไหนของชุมชน ผอ.ก็จะไปพูดเรื่องการพัฒนาคุณภาพการศึกษาและทำให้คนในชุมชนเห็นความสำคัญของการศึกษ จนกระทั่ง ผอ.รังสิวุฒิไปประชุมผู้บริหาร  “รู้จักโครงการร้อยพลังการศึกษาไหม?” “มันคืออะไรครับ” “เขามีเครื่องมือทางการศึกษาให้โรงเรียนเอาไปใช้” ตอนนั้น ผอ.รังสิวุฒิสนใจอยากรู้จักโครงการร้อยพลังการศึกษาจึงไปหาข้อมูลและทำหนังสือขอเข้าร่วมโครงการฯ  แม้ว่าตอนนั้น ยังมีผอ.โรงเรียนอื่นๆ ไม่เข้าร่วม แต่ผอ.รังสิวุฒิไม่ลังเล เพราะคิดว่าเป็นการเปิดโอกาสให้กับนักเรียนได้เรียนรู้ในรูปแบบใหม่ๆ เครื่องมือแรกที่โรงเรียนวังข่อยพิทยานำมาใช้ คือ โปรแกรมคอมพิวเตอร์สอนคณิตศาสตร์ที่ชื่อว่า เลิร์น เอ็ดดูเคชั่น (Learn Education) แต่โรงเรียนไม่มีคอมพิวเตอร์เพียงพอสำหรับนักเรียนหนึ่งห้อง และไม่มีงบประมาณที่จะจัดซื้อได้ผอ.รังสิวุฒิจึงปรึกษากับทีมงานโครงการร้อยพลังการศึกษาว่าจะทำยังไงได้บ้างทีมงานได้ประสานงานจัดหาคอมพิวเตอร์มือสองมาให้ จนนักเรียนได้ใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์เรียนคณิตศาสตร์เป็นครั้งแรก ดูเหมือนว่าทุกอย่างเริ่มราบรื่น ทว่า… “ใช้โปรแกรมสอนจะดีกว่าคนสอนได้ไง” … Read more เด็กน้อย ครูไม่พอ โรงเรียนห่างไกล ใครจะไปเรียน?

ถ้าย้อนเวลากลับไปได้จะเลือกเรียนอะไร

ตอนเด็กๆ ที่ครูให้เขียนอาชีพที่ใฝ่ฝัน บางคน..ได้เป็นในสิ่งที่เขียน บางคน..ค้นพบตัวเองใหม่ แต่บางคน..อาจไม่ได้เป็นสิ่งที่อยากเป็นเพราะ ‘กลัว’ อะไรบางอย่าง ‘น้องแพร’ สาวน้อยใส่แว่นที่คนอื่นอาจมองว่าเธอเป็นเด็กเรียน แต่ในมุมของแพรเอง เธอไม่ได้มองว่าตัวเองเป็นเด็กเรียน เพราะก็มีบางวิชาที่แพรไม่อยากเรียนถึงขั้นอยากจะหนี และเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้เธอเริ่มคิดว่าถ้าขึ้น ม.4 จะเรียนสายไหนดีเพื่อจะได้ไม่ต้องเรียนวิชานั้น คิดว่านักเรียน ม.3 อย่างแพร ไม่อยากเรียนวิชาอะไรคะ? ณ ตอนนั้นวิชาที่เปรียบเสมือนยาขมของแพร คือ ‘คณิตศาสตร์’ แพรไม่ชอบคณิตมาตั้งแต่ประถม เวลาถึงคาบคณิตฯ ทีไร แพรอยากจะหายตัวไปเลย แต่แล้ววันหนึ่ง… เมื่อแพรไปเจอเหตุการณ์คนประสบอุบัติเหตุ วินาทีที่ได้ยินเสียงดังโครม! มองเห็นร่างของผู้บาดเจ็บนอนอยู่ที่พื้น แพรอยากวิ่งเข้าไปช่วยทำอะไรบางอย่างก็ได้ที่จะช่วยคนตรงหน้าแต่แพรทำอะไรไม่ได้เลยแพรไม่รู้ว่าจะเริ่มจากตรงไหนตอนนั้น ความคิดที่ผุดขึ้นมาในหัว “ถ้าเราเป็นหมอก็คงดี” แต่กลับมีอีกเสียงค้านว่า “แต่จะเป็นหมอก็ต้องเรียนคณิตฯสิ เราไม่ชอบเรียนวิชานี้เลย” จนกระทั่ง ที่โรงเรียนได้นำเครื่องมือทางการศึกษาใหม่เข้ามาให้นักเรียนได้ใช้ในรายวิชา คณิตศาสตร์ ชื่อว่า “เลิร์น เอ็ดดูเคชั่น (Learn Education)” การเรียนคณิตศาสตร์ผ่านโปรแกรมเลิร์น เอ็ดดูเคชั่น ทำให้แพรเรียนจากการเห็นภาพ สามารถทบทวนบทเรียนได้ด้วยตนเอง จากความกลัวกลายเป็นเริ่มสนุก ผ่อนคลายและกลายเป็นความชอบเพราะพอเข้าใจมากขึ้นก็ทำให้ชอบคณิตฯมากขึ้น “ดีมากๆ เลยค่ะที่มีเครื่องมือเข้ามา มันเข้าใจมากกว่าเดิม เรียนเพลินไม่เครียด ตอนต้น ๆ … Read more ถ้าย้อนเวลากลับไปได้จะเลือกเรียนอะไร