เมื่อมือถือเก่าของพี่ๆ มีค่า เป็นเครื่องมือให้น้องๆ ในโครงการ “ร้อยพลังการศึกษา” ได้เรียนผ่านระบบออนไลน์ “ฟรี”

บริจาคมือถือ

ในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อโควิด-19 ที่ทำให้หลายโรงเรียนต้องปรับกระบวนการเรียนการสอนใหม่ เพื่อช่วยให้นักเรียนสามารถเรียนต่อได้ในสถานการณ์เร่งด่วนนี้ ร้อยพลังการศึกษาจัดแคมเปญพิเศษ “มือถือนี้ พี่ให้น้อง(เรียน)” จัดหาอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์สภาพ ไม่ว่าจะเป็น คอมพิวเตอร์ โน๊ตบุ๊ค แท็บเล็ต หรือสมาร์ทโฟน โดยนำอุปกรณ์เหล่านี้ไปสร้างโอกาสในการเข้าถึงการศึกษา “มือถือนี้ พี่ให้น้อง (เรียน)” ได้รับความร่วมมือจาก ร้านปันกัน โดย มูลนิธิยุวพัฒน์ ศูนย์รวมแห่งการแบ่งปันของคนในสังคม มาร่วมเป็นสื่อกลางในการเปิดรับบริจาคให้โครงการร้อยพลังการศึกษาและยังเชิญชวนคนทั่วไปมาร่วมบริจาคอีกด้วย แคมเปญนี้ได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก สามารถระดมมือถือและแท็บเล็ตได้ 68 เครื่อง ณัฏฐฑิดา ปิณฑานนท์ ตัวแทนจากชมรม Clueless Corona by Molecular Science International Community School หนึ่งในกลุ่มพลังของคนตัวเล็กที่อยากช่วยพัฒนาคุณภาพการศึกษาให้เกิดความเท่าเทียมกันในสังคมไทย กล่าวว่า “ในช่วงโควิดเราต้องเรียนออนไลน์ จึงอยากให้โอกาสกับน้องๆ ที่อาจจะไม่มีโอกาสได้ซื้อแท็บเล็ตหรือโทรศัพท์ สามารถมีโอกาสเรียนต่อได้เหมือนกัน เราจึงเปิดรับและรวบรวมเครื่องคอมพิวเตอร์ แท็บเล็ต โทรศัพท์มือถือ จากทุกคนในโรงเรียนมาร่วมบริจาคให้กับปันกัน และอยากเชิญชวนให้ทุกคนมาช่วยบริจาคเยอะๆ เพื่อให้สิทธิในการเรียนของน้องๆ คนที่ไม่มีเงินซื้อ เพราะคิดว่าถ้าเรามีเงินพอที่จะสามารถเรียนรู้ได้ คนที่ไม่มีเงินก็ควรจะมีสิทธิในการเรียนรู้ได้เหมือนกัน” ร้อยพลังการศึกษาขอขอบคุณทุกคนที่มีส่วนร่วมในการมอบโอกาสทางการศึกษาให้น้องๆ นักเรียนในโครงการ “ร้อยพลังการศึกษา” … Read more เมื่อมือถือเก่าของพี่ๆ มีค่า เป็นเครื่องมือให้น้องๆ ในโครงการ “ร้อยพลังการศึกษา” ได้เรียนผ่านระบบออนไลน์ “ฟรี”

มาโรงเรียนไม่ได้เงินออกไปทำงานดีกว่า…

“ผมอยากเป็นไกด์ แต่ยังพูดภาษาอังกฤษไม่ได้เลย ส่วนเพื่อนที่ลาออกไปตั้งแต่ ป.6 เป็นไกด์ที่ปางช้าง หาเงินได้ตั้งเยอะ” คำพูดของนักเรียนชาย ม.5 คนหนึ่งพูดกับ ผอ.ประเสริฐศักดิ์ เหมือนหาญ เขาอยากมีความรู้ มีทักษะที่จะไปประกอบอาชีพได้ แต่เมื่อลองเทียบตัวเองกับเพื่อนที่ไม่ได้เรียนดูกลับพบว่าเพื่อนที่ลาออกไปทำงานตั้งแต่ ป.6 เป็นไกด์นำเที่ยว มีรายได้เลี้ยงตัวเอง และพูดภาษาอังกฤษได้ดีกว่าตนที่เรียน ม.5 สายศิลป์ภาษา พอได้ฟังคำพูดของนักเรียนคนนี้แล้ว ผอ.ประเสริฐศักดิ์ ซึ่งเพิ่งย้ายมาเป็นผู้บริหารที่โรงเรียนแม่วินสามัคคีแทบเข่าทรุด เขาคิดว่าถ้าเป็นอย่างนี้แสดงว่าการเรียนการสอนที่เป็นอยู่ไม่ได้ตอบโจทย์ความต้องการของผู้เรียน ไม่ได้ตอบโจทย์พื้นที่ชุมชน  โรงเรียนแห่งนี้มีเด็กที่ลงมาจากบนดอย เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ เช่น ม้ง ปกาเกอะญอ มูเซอ ไทยใหญ่ ฯลฯ มาเรียนและพักที่โรงเรียนกว่า 300 คน เด็กหลายคนเรียนจบ ป.6 ก็ต้องออกไปช่วยพ่อแม่ทำงาน เพราะความยากลำบากและทัศนคติที่คิดว่ามาโรงเรียนไม่ได้เงิน ออกไปทำงานดีกว่า สิ่งนี้ คือ สิ่งที่โรงเรียนต้องต่อสู้ จะทำอย่างไรให้พวกเขาเห็นว่า การเรียนก็เหมือนการลงทุนที่ผลตอบแทนและกำไรอาจจะไม่ได้รวดเร็วทันใจแต่ต้องใช้เวลา ผอ.จึงอยากจะสร้างโรงเรียนแม่วินสามัคคีให้เป็นโรงเรียนนวัตกรรมต้นแบบของเชียงใหม่ แล้วจะสร้างนักเรียนของเชียงใหม่อย่างไรล่ะ ที่ตอบโจทย์เชิงพื้นที่ ทั้งวัฒนธรรม วิถีชีวิต และชุมชน ปี 2561 ที่ผ่านมาจึงมีการปรับเปลี่ยนการสอนให้สอดคล้องกับบริบทมากขึ้น โดยมีการฝึกอาชีพให้กับเด็กๆ … Read more มาโรงเรียนไม่ได้เงินออกไปทำงานดีกว่า…

ยังจำตอนที่ใช้ iPhone หรือ สมาร์ทโฟน (Smart Phone) ครั้งแรกได้ไหม?

จากมือถือมีปุ่มเปลี่ยนมาใช้มือถือไร้ปุ่มกด ตอนที่หลายคนใช้ครั้งแรก อาจรู้สึกว่ามันยาก ความยากนั้นคงเป็นเพราะเรา “ไม่เคยชิน” กับการใช้งาน ทุกครั้งที่เริ่มอะไรใหม่ ๆ เรามักจะรู้สึกว่า ‘มันยาก ’ แต่ถ้ามองให้ลึกลงไป ในความยากนั้นกำลังส่งสัญญาณบอกว่าเรากำลัง ‘พัฒนา’ อยู่  เช่นเดียวกับการพูดภาษาอังกฤษ คนที่พูดคล่องตอนนี้ คือ คนที่เคยผ่านจุดที่รู้สึกว่ามันยากมาก่อนด้วยการฝึกฝนหรือสร้างความเคยชินกับมัน ทำให้การพูดภาษาอังกฤษกลายเป็นทักษะติดตัว แต่จะทำอย่างไรให้เด็กไทยก้าวผ่านขั้นแรกที่ว่า ‘มันยาก’ ไปได้? “ผมโง่ครู” “หนูอ่านไม่ออก” “ใครจะไปทำได้” กรอบความคิด (Mindset) เหล่านี้ที่ฝังอยู่ทำให้เด็ก ๆ เลือกที่จะหนีด้วยการไม่ยอมพูด ไม่ยอมอ่าน ไม่ยอมเปิดใจกับภาษาอังกฤษ  ครูดีจัง ครูผู้นำการเปลี่ยนแปลงในโครงการทีช ฟอร์ ไทยแลนด์ (Teach For Thailand) คิดว่าต้องมาปรับแนวความคิดตรงนี้กันก่อน เธอจึงมองหาตัวช่วยที่ทำให้คาบภาษาอังกฤษกลายเป็นเรื่อง ‘สนุก’ ผู้ช่วยของครูดีจัง มาในรูปของโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่มีชื่อว่า‘วินเนอร์อิงลิช (Winner English)’ เป็นโปรแกรมสอนภาษาอังกฤษที่รูปร่างหน้าตาคล้ายกับการเล่นเกมที่ให้เด็ก ๆ ได้ฝึกฝนทักษะ ฟัง พูด อ่าน เขียน ผ่านภาพ … Read more ยังจำตอนที่ใช้ iPhone หรือ สมาร์ทโฟน (Smart Phone) ครั้งแรกได้ไหม?

เรื่องวันดีจากครูวันดี

ด.ช.วันดี กลับมาเรียนชั้น ม.1 หลังจากที่เขาหยุดเรียนไป 2 ปี ทำให้วันดีมีพื้นฐานน้อยกว่าเพื่อนในห้องเดียวกัน เวลาครูบอกคำสั่งอะไรก็ตามในห้องเรียน ครูต้องอธิบายหลายรอบกว่าวันดีจะเข้าใจว่าครูให้ทำอะไร การสื่อสารด้วยภาษาไทยในการเรียนวิชาทั่วไปว่ายากแล้ว ถ้าเป็นการเรียนภาษาอังกฤษยิ่งยากกว่า วันดีแทบจะไม่ค่อยรู้คำศัพท์  แต่หากครูสะกดทีละตัวอักษรให้ วันดีก็พอจะเขียนตัวอักษรได้แต่ช้า เขายังสับสนระหว่างตัว b กับ d และใช้เวลาคิดว่าแต่ละตัวอักษรต้องเขียนอย่างไร  ความบังเอิญของเรื่องนี้ คือ วันดีได้เรียนภาษาอังกฤษกับคุณครูที่มีชื่อว่า “ครูวันดี” (ชื่อเขียนเหมือนกันเป๊ะ) คุณครูวันดีทราบว่าพื้นฐานนักเรียนหลายคนที่เข้ามาเรียน ม.1 บางคนก็มีปัญหาคล้ายกับวันดี เพราะเด็กบางคนแทบจะไม่ค่อยได้เรียนภาษาอังกฤษมาเลยในตอนชั้นประถม เนื่องจากโรงเรียนที่เคยเรียนขาดครูผู้สอนที่จบตรงเอกภาษาอังกฤษ ช่วงแรก การเรียนการสอนวิชาภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้น ม.1 ที่เข้าใหม่ยังขลุกขลักอยู่มาก เพราะไม่ใช่แค่ ด.ช.วันดีเพียงคนเดียว ยังมีนักเรียนอีกหลายคนที่มีพื้นฐานภาษาอังกฤษต่ำกว่าเกณฑ์  ในหนึ่งคาบเรียนครูวันดีสอนเนื้อหาได้ไม่มากเพราะต้องค่อยๆ อธิบายเพื่อให้นักเรียนทุกคนตามได้ทัน  คุณครูวันดี จึงพยายามทำให้การเรียนภาษาอังกฤษเป็นสิ่งที่น่าสนใจสำหรับเด็กๆ ก่อน โดยเริ่มต้นคาบเรียนด้วยการนำคลิปใน Youtube มาให้นักเรียนดูเพื่อดึงดูดความสนใจ  หลังจากนั้นก็จะให้นักเรียนเขียนพร้อมกัน ไปแบบช้าๆ สอนทีละเรื่อง หลังจากเขียนเสร็จ ครูก็จะให้ทุกคนยืนอ่าน เพื่อมั่นใจว่าทุกคนได้ฝึกทั้งการฟัง พูด อ่าน และเขียน  จนกระทั่งวันหนึ่ง โรงเรียนวัดตะคร้ำเอน ได้นำเครื่องมือหนึ่ง … Read more เรื่องวันดีจากครูวันดี

เด็กน้อย ครูไม่พอ โรงเรียนห่างไกล ใครจะไปเรียน?

เมื่อปี 2558  ณ โรงเรียนวังข่อยพิทยา จ.นครสวรรค์ โรงเรียนที่ได้ชื่อว่าเป็น ‘โรงเรียนมัธยมประจำตำบล’ แต่มีนักเรียน ม.1 – ม.6 เพียงร้อยกว่าคนครูที่นี่ อยู่กันปี สองปี ก็ย้ายกลับบ้านต่างจังหวัด (เนื่องจากนโยบายขณะนั้น อนุญาตให้ครูบรรจุใหม่ที่อยู่ครบ 2 ปี สามารถย้ายกลับภูมิลำเนาเดิมได้) ครูที่ยังสอนอยู่ ไม่ได้สอนตามเอกที่เรียนมา เช่น เป็นครูชีววิทยาแต่ต้องไปสอนคณิตศาสตร์เพราะครูไม่พอ “เรียนไปทำไม” “ทำไมต้องมาเรียนที่นี่” ท่ามกลางความสงสัยของเด็กและผู้ใหญ่บางคนที่ยังไม่ได้เห็นความสำคัญของการศึกษา หรือบางคนเห็นความสำคัญของการศึกษาแต่เลือกที่จะไปเรียนในเมืองมากกว่าด้วยบริบทที่ท้าทายเหล่านี้ จุดประกายให้ ผอ.รังสิวุฒิ พยายามหาทางที่จะพัฒนาโรงเรียนไม่ว่าจะมีเวทีไหนของชุมชน ผอ.ก็จะไปพูดเรื่องการพัฒนาคุณภาพการศึกษาและทำให้คนในชุมชนเห็นความสำคัญของการศึกษ จนกระทั่ง ผอ.รังสิวุฒิไปประชุมผู้บริหาร  “รู้จักโครงการร้อยพลังการศึกษาไหม?” “มันคืออะไรครับ” “เขามีเครื่องมือทางการศึกษาให้โรงเรียนเอาไปใช้” ตอนนั้น ผอ.รังสิวุฒิสนใจอยากรู้จักโครงการร้อยพลังการศึกษาจึงไปหาข้อมูลและทำหนังสือขอเข้าร่วมโครงการฯ  แม้ว่าตอนนั้น ยังมีผอ.โรงเรียนอื่นๆ ไม่เข้าร่วม แต่ผอ.รังสิวุฒิไม่ลังเล เพราะคิดว่าเป็นการเปิดโอกาสให้กับนักเรียนได้เรียนรู้ในรูปแบบใหม่ๆ เครื่องมือแรกที่โรงเรียนวังข่อยพิทยานำมาใช้ คือ โปรแกรมคอมพิวเตอร์สอนคณิตศาสตร์ที่ชื่อว่า เลิร์น เอ็ดดูเคชั่น (Learn Education) แต่โรงเรียนไม่มีคอมพิวเตอร์เพียงพอสำหรับนักเรียนหนึ่งห้อง และไม่มีงบประมาณที่จะจัดซื้อได้ผอ.รังสิวุฒิจึงปรึกษากับทีมงานโครงการร้อยพลังการศึกษาว่าจะทำยังไงได้บ้างทีมงานได้ประสานงานจัดหาคอมพิวเตอร์มือสองมาให้ จนนักเรียนได้ใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์เรียนคณิตศาสตร์เป็นครั้งแรก ดูเหมือนว่าทุกอย่างเริ่มราบรื่น ทว่า… “ใช้โปรแกรมสอนจะดีกว่าคนสอนได้ไง” … Read more เด็กน้อย ครูไม่พอ โรงเรียนห่างไกล ใครจะไปเรียน?